ปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้กฎหมายปฏิรูปที่ดิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบังคับใช้กฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
แต่พบปัญหาว่าการปฏิรูปที่ดินไม่มีมาตรการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมหากเกษตรกรผู้ได้สิทธิไม่ได้นำที่ดินที่ได้รับการจัดสรรไปสร้างประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ แต่กลับนำที่ดินไปแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยการนำที่ดินไปขายหรือปิดบังอำพรางการถือครองที่ดินย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติของรัฐและไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อช่วยเหลือประชาชน
จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ไม่มีบทลงโทษเกษตรกรที่ปฏิบัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินทำให้เกษตรกรไม่เกรงกลัวต่อการกระทำความผิดและขาดประสิทธิภาพในการจัดสรรที่ดินของรัฐทำให้ตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลเฉพาะกลุ่มโดยไม่มีการกระจายการถือครองไปสู่เกษตรกรรุ่นใหม่อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
และยังพบว่าแนวทางปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงระหว่างสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเกี่ยวกับการให้สิทธิแก่เกษตรกรรายใหม่ที่จะเข้ามาถือครองที่ดินต้องรับภาระหนี้เกษตรกรรายเดิมเสียก่อนจึงจะได้สิทธิถือครองที่ดิน จึงถือว่าขัดต่อเจตนารมณ์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ต้องการให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง
Article Details
References
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 47 ก. วันที่ 24 สิงหาคม 2550.
3. พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 54 ตอน 10พ. วันที่ 5 มีนาคม 2518.
4. ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรซึ่งจะมีสิทธิ ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109ตอนที่ 80.วันที่ 24 กรกฎาคม 2535.
5. ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ที่ได้รับการจัดที่ดินจาก การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109ตอนที่ 97.วันที่ 16 กันยายน2535.