คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ:การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้สูงอายุในเขตเมืองและเขตชนบท

Main Article Content

มนตรี เกิดมีมูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ   โดยการเปรียบเทียบระหว่างผู้สูงอายุในเขตเมืองและเขตชนบท การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจด้วยตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาได้แก่ ประชาชนอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ รวม 15 จังหวัด  ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครปฐม พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ชลบุรี นครราชสีมา หนองคาย อุบลราชธานี  พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ชุมพร นครศรีธรรมราช และสตูล  การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวมจำนวนตัวอย่างในการศึกษาทั้งสิ้น 991 คน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับความพึงพอใจในคุณภาพชีวิต โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน  t-test และ F-test  ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเมือง ได้แก่  การเป็นเจ้าของบ้านพักอาศัย การมีเงินออม ความพึงพอใจในสภาพแวดล้อม  ความพึงพอใจในชีวิตการทำงาน  ความพึงพอใจในสุขภาพของตน  และความพึงพอใจในชีวิตครอบครัว  ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตชนบท ได้แก่ อาชีพ สถานภาพสมรส การเป็นเจ้าของบ้านพักอาศัย  ความพึงพอใจในสภาพแวดล้อม ความพึงพอใจในชีวิตการทำงาน ความพึงพอใจในสุขภาพของตน และความพึงพอใจในชีวิตครอบครัว ผู้วิจัยเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มบทบาทในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ  ได้แก่  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  โดยศูนย์การเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม ควรเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว  กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย  ควรเพิ่มการรณรงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ และกระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ควรส่งเสริมการสร้างหลักประกันเมื่อเกษียณอายุสำหรับกลุ่มแรงงานให้ครอบคลุมมากขึ้น ด้วยการขยายโอกาสในการเข้าถึงกองทุนประกันสังคมสำหรับแรงงานทุกกลุ่มทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนกรณีชราภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ไฉไลฤดี ยุวนะศิริ และ ภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม. (2549). รายงานวิจัย การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้แบบบูรณาการ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.
2. ชุติเดช เจียนดอน และคณะ. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา.วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ปีที่ 41(กันยายน - ธันวาคม) : 229 - 239.
3. ฐิตะวงษ์ ลาเสน. (2548). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชนบทไทย. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
4. ธาริน สุขอนันต์ และคณะ. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ปีที่ 41(กันยายน - ธันวาคม) : 240 - 249.
5. นิรมล อินทฤทธิ์. (2547). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และ ปราโมทย์ ประสาทกุล. “ประชากรไทยในอนาคต,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.ipsr.mahidol.ac.th, 2015. [สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558].
7. ปัทมา สุริต. (2551). “ทฤษฏีผู้สูงอายุ.” ใน ดวงใจ คำคง. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอ ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. 2554. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
8. มนตรี เกิดมีมูล. (2555). คุณภาพชีวิตของคนไทย : กรณีศึกษาผู้อาศัยอยู่ในเขตเมือง. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ ปีที่ 52 (กรกฎาคม – กันยายน) : 135.
9. วาทินี บุญชะลักษี และ ยุพิน วรสิริอมร. (2548). ผู้สูงอายุในประเทศไทย : จุดเปลี่ยนนโยบายประชากรประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
10. ศราวุธ ยงยุทธ. (2546). การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ การดูแลตนเอง และการออกกำลังกายของผู้สูงอายุที่มารับบริการศูนย์บริการทางด้านสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
11. ศรีเมือง พลังฤทธิ์. (2550). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยบุคคล ครอบครัว และชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: การศึกษาเชิงคุณภาพ. วารสารประชากรศาสตร์ ปีที่ 23(กันยายน) : 67 - 84.
12. สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2539). สังคมวิทยาภาวะสูงอายุ : ความเป็นจริงและความคาดการณ์ในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
13. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
14. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). รายงานสถิติรายปีประเทศไทย 2554. กรุงเทพมหานคร: ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์.
15. สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 2555. คุณภาพชีวิตของคนไทย ปี 2555. กรุงเทพมหานคร:ทิพเนตร์การพิมพ์.
16. สุรกุล เจนอบรม. (2534). วิทยาการผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
17. สุรพงศ์ ชูเดช. (2546). คู่มือการเรียนจิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : สายสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี.
18. อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2543). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
19. อนุชาติ พวงสำลี และ อรทัย อาจอ่ำ. (2541). การพัฒนาเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตและสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
20. อารดา ธีระเกียรติกำจร (2554). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.
21. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
22. Yamane, Taro. (1973). An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.