ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

Main Article Content

ศิริสุข นาคะเสนีย์
ชุลี ปัญจะผลินกุล
ศศิวิมล โมอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมจิตสาธารณะ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะ  เปรียบเทียบพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักศึกษาจำแนกตามเพศ สาขาวิชา และชั้นปีที่ศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกกับพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 230 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวด้วยวิธี Scheffe และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


            ผลการวิจัย พบว่า


  1. กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมจิตสาธารณะโดยรวม อยู่ในระดับมาก

  2. ปัจจัยภายในด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม และปัจจัยภายนอกด้านการสนับสนุนจากครอบครัวมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะ อยู่ในระดับมากที่สุด

  3. เพศ สาขาวิชา และชั้นปีที่ศึกษา แตกต่างกัน มีพฤติกรรมจิตสาธารณะโดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  4. ปัจจัยภายในด้านเหตุผลเชิงจริยธรรมและแรงจูงใจ และปัจจัยภายนอกด้านการสนับสนุนจากครอบครัว การสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย การสนับสนุนจากชุมชน และการสนับสนุนจากเพื่อน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. 2554. แผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
2. คณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2552. แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2552.
3. จุมพล หนิมพานิช. 2543. เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมมนุษย์ หน่วยที่ 4. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
4. ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 2553. สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: วี พริ้นท์ (1991).
5. นงลักษณ์ เขียนงาม และ สมพร เมธีวัฒนากุล. 2553. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 5 (1) มกราคม –มิถุนายน 2553: 101.
6. นันทรัตน์ ปริวัติธรรม. 2553. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของเด็กและเยาวชนที่รับทุนการศึกษาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
7. ณัฐดาว คชพลายุกต์. 2554. การทำหน้าที่ของครอบครัว บุคลิกภาพ การเห็นคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมการช่วยเหลือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 38(2) กรกฎาคม – ธันวาคม 2555: 125-138.
8. บุญธิดา ยอดสุวรรณ. 2557. ระดับความมีจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
9. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. 2551. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
10. ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร และคณะ. 2553. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับจิตอาสาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ 3(1) มกราคม- มิถุนายน 2553 : 9-16.
11. พิมภา กำเนิดผล. 2552. ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 1 จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมิน มหาวิทยาลัยทักษิณ.
12. ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจร. 2543. สำนึกไทยที่พึงปรารถนา. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย.
13. วลัยรัตน์ ยิ่งดำนุ่น. 2554. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของโครงการจิตอาสา : กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
14. วิเชียร อินทรสมพันธ์. 2554. ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารครุศาสตร์สาร 6(2) กรกฎาคม – ธันวาคม 2555: 19-25.
15. วีรชัย คำธร. 2554. รายงานวิจัยเรื่อง ปัจจัยเชิงบูรณาการตามประสบการณ์และลักษณะทางจิตที่มีอิทธิพลต่อจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
16. ศักดิ์ชาย เรืองฤทธิ์. 2555. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับจิตสาธารณะในการเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญ ประโยชน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
17. อ้อมใจ วงษ์มณฑา. 2552. ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
18. อริยา คูหา และ สุวิมล นราองอาจ. 2553. จิตสาธารณะและรูปแบบการดำเนินชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 3(2) พฤษภาคม – สิงหาคม 2554: 81.
19. อารี พันธ์มณี. 2546. จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: ใยไหมเอดดูเคท.
20. อารีย์ วงศ์แดง. 2554. ทัศนคติและพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ กรกฎาคม- ธันวาคม 2554: 11-18.
21. Krejcie, R. V. and Morgan, D. M. 1970. “Determining Sample Size for Research Activities”.Educational and Psychological Measurement. 30: 608.