การศึกษาความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารความเสี่ยงและการนำไปใช้เพื่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

ย์ทัศนัย ขัตติยวงษ์
นงนุช วงษ์สุวรรณ
นิพนธ์ วุฒิชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารความเสี่ยงและการนำไปใช้เพื่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาความรู้และความเข้าใจเรื่องการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน  2) ศึกษาการนำความรู้และความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงไปใช้ประโยชน์ในการบริหาร  3) เพื่อศึกษาทัศนคติการบริหารจัดการความเสี่ยงมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพในช่วงระหว่างปีการศึกษา 2552-2555 4) ศึกษาการนำความรู้และความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงไปใช้ในกำหนดแผนการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีและบริหารจัดการความเสี่ยงมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงระหว่างปีการศึกษา 2552-2555


            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2  กลุ่มจำนวน 215 คน  ประกอบด้วยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี  จากงานวิจัยพบว่า 1) การวัดระดับความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารความเสี่ยงของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี  โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยรวมอยู่ระดับปานกลาง  ตามการจำแนกระดับความรู้ความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงด้านขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง  เหตุแห่งความเสี่ยง  ประเภทความเสี่ยง  และมาตรการหรือรูปแบบในการจัดการความเสี่ยง อยู่ระดับปานกลาง   ระดับความรู้ความเข้าใจเรื่องของความเสี่ยงในด้านความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความรุนแรงในความเสียหายมีระดับค่อนข้างน้อย และผลการศึกษาพบว่าระดับความรู้ความเข้าใจมีความสัมพันธ์กันกับระดับการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  2) การวัดระดับด้านการนำไปใช้ในกำหนดแผนบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในแผนบริหารความเสี่ยงด้านการกำหนดแผนบริหารความเสี่ยง การนำแผนบริหารความเสี่ยงไปใช้ดำเนินงาน การติดตามและประเมินผล การสรุปผลและรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผน และ การนำผลการบริหารความเสี่ยงที่เหลืออยู่ไปกำหนดแผนบริหารความเสี่ยงในปีงบประมาณถัดไป จะพบว่ามากกว่าร้อยละ 50  บุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนบริหารความเสี่ยง และน้อยกว่าร้อยละ 50 ไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนบริหารความเสี่ยงไปใช้ดำเนินงาน การวัดระดับค่าเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมในการนำไปใช้กำหนดแผนบริหารความเสี่ยงโดยรวมอยู่ระดับน้อย ( =1.49)  และจากสมมติฐานพบว่า ระดับการนำไปใช้กำหนดแผนบริหารความเสี่ยงมีความสัมพันธ์กันกับระดับตำแหน่งงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  3) การวัดระดับทัศนคติของแผนบริหารความเสี่ยงต่อประสิทธิภาพการการบริหารงานของระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ พ.ศ. 2552-2555 จะพบว่าทัศนคติของแผนบริหารความเสี่ยงต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานอยู่ระดับปานกลาง  สมมติฐานพบว่าระดับทัศนคติของแผนบริหารความเสี่ยงต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ พ.ศ. 2552-2555 มีความสัมพันธ์กันกับระดับการนำไปใช้กำหนดแผนบริหารความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  และสมมุติฐานพบว่า ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมีระดับความรู้และเข้าใจเรื่องการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีไม่มีความสัมพันธ์กับนำไปใช้จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยและไม่มีความสัมพันธ์กับระดับทัศนคติของแผนบริหารความเสี่ยงต่อประสิทธิภาพการบริหารงานตั้งแต่ พ.ศ. 2552-2555

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กิ่งกาญจน์ คงจุน . 2553. การบริหารจัดการความเสี่ยงทางด้านการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษากรณีศึกษาเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาสเขต 3. สาระนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
2. ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ. 2554. การบริหารความเสี่ยงสากล ISO 3100 กับระบบการศึกษาของไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.ejournal.su.ac.th/upload/109.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 27 พฤษภาคม 2555)
3. จันทนา สาขากรและคณะ. 2550. การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน . กรุงเทพ ฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส. เจริญ เจษฏาวัลย์. 2546. การบริหารความเสี่ยง . กรุงเทพฯ : บริษัทพอดี จำกัด.
4. จันทนา สาขากรและคณะ . 2543 . คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกาหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2543. กรุงเทพฯ : สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน.
5. ชุลีกาญจน์ ไชยเมืองดี. 2548. การศึกษาระบบการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2548/acc0348cc_abs.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 27 พฤษภาคม 2555)
6. ชัยเสฐฐ์ พรหมศรี. 2550. การบริหารความเสี่ยง . กรุงเทพฯ : บริษัทออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด.
7. ดวงใจ ช่วยตระกูล. 2552. การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.ejournal.su.ac.th/upload/42.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 27 พฤษภาคม 2555)
8. ณัชธิญา ปัทมทัตตานนท์. 2553. การจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.research.rmutt.ac.th/wp-content/uploads/2012/12/ Administrators-Power-Behaviors-Affecting-Effectiveness-of-Risk-management.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 10 มีนาคม 2556)
9. นฤมล ถนอมพงษ์ชาติ. 2551. การศึกษาการใช้ปัจจัยและองค์ประกอบความเสี่ยงในการวางแผนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.dpu.ac.th/hrd/page. php?id=4010. (วันที่ค้นข้อมูล 27 พฤษภาคม 2555)
10. ปิยะรัตน์ เสนีย์ชัย. 2553. การบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการ ครูสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสเขต 2 [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/ 8158/9/Chapter5.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 10 มีนาคม 2556)
11. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. 2553. คู่มือการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน 2553. จันทบุรี : กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
12. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. 2553. การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง พ.ศ. 2552. จันทบุรี : กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
13. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. 2554. คู่มือการบริหารความเสี่ยงมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี พ.ศ. 2554. จันทบุรี : กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
14. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. 2554. แผนการบริหารความเสี่ยงปีงบประมาณ 2554. จันทบุรี : กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
15. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. 2554. การติดตามและการรายงานผลแผนบริหารความเสี่ยง พ.ศ. 2553. จันทบุรี : กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
16. สงวน ช้างฉัตร. 2547. การบริหารความเสี่ยงของโครงการ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://sichon.wu.ac.th/file/master-ihh-20110916-173438-TY7UX.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 27 พฤษภาคม 2555)
17. สุดารัตน์ สุวารี. 2554. การศึกษากับการจัดการความเสี่ยงของสถาบันการศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://stjohn batch753. blogspot.com/2011/01/blogpost_6797.html. (วันที่ค้นข้อมูล 27 พฤษภาคม 2555)
18. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2554. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
19. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. 2553. คู่มือการบริหารและกำกับดูแลของคณะกรรมการองค์การมหาชน. กรุงเทพ ; บริษัท พรีเมียร์ โปร จำกัด.
20. วนิดา ปอน้อย. 2552. การศึกษาความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับทางด้านการเงินและพัสดุ [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www2.rmutt.ac.th/images/ stories/ pdf/n53_081004.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 10 มีนาคม 2556)
21. อังสนา ศรีประเสริฐ. 2553. การบริหารความเสี่ยงกับการตรวจสอบภายใน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.utcc.ac.th/ public_ content/files/001/30_1-12.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 27 พฤษภาคม 2555)