การสร้างชุดกิจกรรมทัศนศิลป์เพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

เกศินี กี่จนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อสร้างชุดกิจกรรมทัศนศิลป์เพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1และ2.เปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติงานศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมทัศนศิลป์เพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1


          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านหนองบัว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดกิจกรรมทัศนศิลป์เพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบวัดความสามารถในการปฏิบัติงานศิลปะ และแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ ใช้เวลาในการทดลอง สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง จำนวน10 สัปดาห์ รวมระยะเวลาทั้งหมด  20 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติที       (t – test) แบบ Dependent Samples


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ชุดกิจกรรมทัศนศิลป์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานศิลปะและความคิด

สร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 91.94/ 96.67


  1. ความสามารถในการปฏิบัติงานศิลปะหลังการใช้ชุดกิจกรรมทัศนศิลป์ เพื่อพัฒนา

ความสามารถในการปฏิบัติงานศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา


ปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


  1. ความคิดสร้างสรรค์หลังการใช้ชุดกิจกรรมทัศนศิลป์ เพื่อพัฒนาความสามารถ

ในการปฏิบัติงานศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1


สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. โรงเรียนบ้านหนองบัว. (2555). แนวดำเนินการยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2555. ตราด: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด.
2. วรวิทย์ สงคำ. (2547). การจัดกิจกรรมวาดภาพระบายสี ที่ส่งผลต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาล 1สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองพัทลุง. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
3. ศิริรักษ์ พันธ์เวียง. (2548). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะตามแนวคิดพหุสัมผัสเพื่อ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการวาดภาพระบายสี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
4. สุภาวดี เพชรชื่นสกุล. (2547). ผลการเรียนจากการใช้กิจกรรมเกม ดนตรีและนิทานที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
5. อารี พันธ์มณี. (2540). คิดอย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ต้นอ้อ แกรมมี่.
6. Daniel, Christine. (2010). Advocating for the Visual Arts in the Era of No Child Left. Reports – Evaluative.
7. Guilford, J. P. (1965). Fundamental statistics in psychology and education. New York: McGraw-Hill Book Company.