คุณลักษณะของบัณฑิตพึงประสงค์สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์สำหรับความต้องการของ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาถึงคุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สำหรับความต้องการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 2. เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิต สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์ 3. เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างจากหัวหน้าหน่วยงานส่วนต่างๆ และหน่วยงานใน ส่วนราชการ องค์กรของเอกชน รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ สมาคมชมรม ส่วนราชการในจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 1,085 หน่วยงาน ได้ในขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 291 หน่วยงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า
- ความคาดหวังกับคุณลักษณะของบัณฑิตพึงประสงค์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.95) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม (= 4.46) รองลงมาคือ ด้านความรู้ ทั่วไป (= 4.34) ด้านความรู้ (ทักษะทางวิชาชีพ) (= 3.87) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (= 3.87) และด้านพฤติกรรมและบุคลิกภาพ (= 3.61)
ด้านคุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ นักศึกษาควรมีความตรงต่อเวลา รองลงมาคือ มีจิตอาสา มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบ ส่วนประเด็นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ มีความเสียสละและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รองลงมาคือ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
ด้านความรู้ทั่วไป โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.34) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ มีความละเอียดรอบคอบในการปฏิบัติงาน รองลงมาคือ มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา มีความรู้เชิงวิชาการที่ใช้ในการปฏิบัติงาน สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับงานที่ได้รับมอบหมาย และมีการวางแผนการทำงานและปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
ด้านความรู้ (ทักษะทางวิชาชีพ) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.87) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ มีความรู้ความเข้าใจด้านการวิจัยการเป็นนักบริหารอาชีพ รองลงมาคือ มีความรู้เข้าใจในสถานการณ์การทำงานในปัจจุบัน และสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ร่วมงานได้
- แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงคุณลักษณะบัณฑิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42) ควรมีการพัฒนาในด้านทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารสู่อาเซียน มีความคล่องแคล่วในการใช้ตัวเลข และแปลผลวิเคราะห์ต่างๆ และมีทักษะในการทำงานเป็นทีมรองลงมาคือ มีการพัฒนาในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ลดภาวะร้อน) มีความสามารถในการปฎิบัติหน้าที่ โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และรับทั้งผิดและชอบจากผลการปฎิบัติงานของตน มีการพัฒนาในด้านพฤติกรรมการบริการ (ESB) และมีความสามารถในการปฎิบัติงานตามขั้นตอนที่กำหนดจนงานสำเร็จเรียบร้อยได้ด้วยดี
- เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์ พบว่า มีการพัฒนาในด้านหลักสูตรผู้บริหารระดับต้น และมีความสามารถในการรักษาสาธารณสมบัติได้เป็นอย่างดี ( = 4.38) หลักสูตรควรเพิ่มทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สำคัญสำหรับงานในหน้าที่ แสวงหาข้อมูล และการติดต่อสื่อสาร สามารถนำความรู้ด้านการบริหารธุรกิจมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม มีทักษะในการใช้อุปกรณ์ สำนักงานที่ทันสมัย มีวิจารณญาณและสามารถไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล มีความละเอียดรอบคอบในการทำงานมีความสามารถตีความ ขยายความแปลความ ย่อความ จับใจความได้
Article Details
References
2. ปิยธิดา ศุภลักษณ์. 2552. การเปรียบเทียบความแตกต่างของความคาดหวังต่อปัจจัยจูงใจและรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาระหว่างพนักงานที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกัน วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
3. พศิน แตงจวง และคณะ. 2545. ปรัชญาและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสาขาการศึกษานอกระบบในสถาบันอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
4. มนตรี วิโรจน์เวชภัณฑ์. 2553. คุณลักษณะพนักงานประจำสำนักงานของบริษัทข้ามชาติในกรุงเทพมหานคร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.