ปัจจัยที่มีผลต่อจิตอาสาของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของชุมชนตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

กิตติพล แต่งผิว
จินตนา อมรสงวนสิน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะและระดับจิตอาสาของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อจิตอาสาของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของชุมชนตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาอาศัยในพื้นที่ การเป็นสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ และการอบรมด้านการอนุรักษ์ และปัจจัยเกี่ยวกับจิตอาสาด้านการขัดเกลาทางสังคม ผ่านสถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว และสถาบันศาสนา ความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และการรับรู้ข่าวสารในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้เครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้นำและคณะกรรมการกลุ่มที่ทำกิจกรรมอนุรักษ์ต่างๆ ในพื้นที่ รวม 10 ราย และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 98 ครัวเรือน ของชุมชนตำบลมะขาม


            พบว่า จิตอาสาของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของชุมชนตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.81 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.34 โดยมีลักษณะจิตอาสาด้านจิตสำนึกสาธารณะ เป็นอันดับ 1 ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.02 และจิตอาสาด้านการเสียสละต่อสังคม เป็นอันดับ 2 ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.92 ปัจจัยด้านอาชีพ การขัดเกลาทางสังคมผ่านสถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว และสถาบันศาสนา ความรู้ความเข้าใจ รวมถึงการรับรู้ข่าวสารในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันของประชาชน มีผลต่อจิตอาสาของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2556. รายงานประจำปี 2555 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร.
2. ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์. 2550. การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา วิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. ดวงทิพย์ อันประสิทธิ์. 2555. รูปแบบการขัดเกลาทางสังคมเพื่อเสริมสร้างจิตอาสาในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบางน้ำหวาน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
4. พิมพ์ภัทรา วรรณภิรมย์. 2554. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชายเลนตามแนวชายฝั่งตะวันตกในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
5. ลดาวัลย์ คำภา. 2555. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. วารสารเศรษฐศาสตร์สุโขทัยธรรมาธิราช ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 มีนาคม 2555: 2-10
6. วลัยรัตน์ ยิ่งดำนุ่น. 2554. ผลสัมฤทธิ์ของโครงการจิตอาสา : กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
7. วัชพงศ์ กิตติเจริญวิทย์. 2554. จิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของผู้ถือครองที่ดินในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับ สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
8. วิสาขา ภู่จินดา. 2553. ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติด้านสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บางกอกบล็อก.
9. ศูนย์ส่งเสริมการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม. 2550. มติคณะรัฐมนตรี : การให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม. เข้าถึงได้จาก : http://www.konjaidee.com/files/agenda.pdf (3 มิถุนายน 2555)
10. สิทธิพงษ์ โกวพัฒนกิจ. 2552. การอนุรักษ์แม่น้ำเจ้าพระยาของประชาชนในอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง.สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
11. สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจันทบุรี. 2555. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. จันทบุรี.
12. สำนักงานเทศบาลตำบลมะขามเมืองใหม่. 2556. ข้อมูลเทศบาลตำบลมะขามเมืองใหม่. จันทบุรี.
13. สำนักงานเทศบาลตำบลมะขามเมืองใหม่. 2556. รายงานกิจการเทศบาลตำบลมะขามเมืองใหม่. จันทบุรี : บริษัทมีไอเดียครีเอชั่น จำกัด.
14. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. แผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2555- 2559. กรุงเทพ.