การพัฒนาจักรยานไฟฟ้ากึ่งอัตโนมัติเพื่อชุมชนบ้านท่าศาลา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

กฤษณะ จันทสิทธิ์
สนั่น เถาชารี
คมสัน มุ่ยสี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาจักรยานไฟฟ้ากึ่งอัตโนมัติ เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ในการเดินทางให้กับกลุ่มชุมชน      บ้านท่าศาลา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี


         ผู้วิจัยเลือกใช้จักรยานทรงวินเทจที่มีขนาดวงล้อ 24 นิ้ว ซึ่งจักรยานที่ใช้พัฒนามีระบบเกียร์ทดรอบแบบ 6 speed เพื่อใช้ช่วยผ่อนแรงขณะปั่นและมีระบบเบรกเพื่อความปลอดภัย ในส่วนของชุดส่งกำลังทางกลใช้มอเตอร์แบบไม่มีแปรงถ่าน ขนาด 36 V ส่วนในระบบไฟฟ้าใช้แบตเตอรี่จำนวน 3 ก้อนขนาด 12 V 7 A ต่ออนุกรมเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงาน โดยการทดสอบจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงระดับความเร็วของการใช้งานคือ 15-20 km/h, 20-25 km/h และ 25-30 km/h ทดสอบก่อนติดตั้งชุดชาร์จกลับขณะปั่นสามารถทำระยะทางได้ 25 กิโลเมตร, 17.24 กิโลเมตร และ 12.61 กิโลเมตรตามลำดับ ต่อการชาร์จประจุ 1 ครั้ง มีอัตราการใช้กระแสไฟฟ้า 3-4 A, 5-6 A และ 8-10 A ตามลำดับ โดยใช้เวลาในการเดินทาง 1.25 ชั่วโมง, 54.27 นาที และ 37.16 นาทีตามลำดับ ทำการทดสอบเมื่อติดตั้งชุดชาร์จกลับขณะปั่นทดสอบ 3 ช่วงระดับความเร็วเหมือนกัน วัดค่าแรงดันไฟฟ้าใช้งานขณะปั่นได้ 38-39 V ในทุกระดับความเร็ว วัดค่ากระแสไฟฟ้าชาร์จกลับขณะปั่นได้ 3.5 A, 4.0 A และ 4.5 A ตามลำดับ ค่าความเร็วที่เหมาะสมในการชาร์จกลับขณะปั่นและไม่ทำให้เหนื่อยง่ายจะอยู่ที่ประมาณ 15-20 km/h ซึ่งให้กระแสไฟฟ้าชาร์จกลับที่เพียงพอ จักรยานมีน้ำหนักรวม 31.5 กิโลกรัม รับน้ำหนักผู้ขับขี่สูงสุด 80 กิโลกรัม สามารถไต่ระดับความลาดชันได้สูงสุด 35 องศา ใช้เวลาชาร์จประจุจากแรงดันไฟฟ้า 220 V 50 Hz 3-4 ชั่วโมงและเสียค่าไฟฟ้าจากการชาร์จประจุ 2 บาท/การชาร์จ 1 ครั้ง ในส่วนของเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมใช้เงินลงทุนในการพัฒนาทั้งสิ้น 18,670 บาท และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับรถจักยานยนต์สามารถประหยัดต้นทุนในการเดินทางได้ 16,200 บาท/ปี (ระยะทาง 50 กิโลเมตร) โดยมีระยะเวลาคืนทุน 1.15 ปี จักรยานไฟฟ้ามีอายุการใช้งาน 7 ปี และมีค่าเสื่อมราคาในแต่ละปี 2,524 บาท/ปี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมการขนส่งทางบก.(2557). การเปรียบเทียบข้อมูลจำนวนของรถที่จดทะเบียนสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2555. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.dlt.go.th/th. 5 มกราคม 2557.
2. บล๊อคอีไบค์.(2555). ติดตั้งชุดคิทจักรยานไฟฟ้าด้วยตัวเอง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://blog.ebikr.com. 10 มกราคม 2557.
3. อีไบค์ไทยคิท.(2550). เรียนรู้สร้างจักรยานไฟฟ้า. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.ebikethaikit.com/. 15 มกราคม 2557.
4. วิกิพีเดีย. (2556). แบตเตอรี่แบบตะกั่ว-กรด. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org. 20 มกราคม 2557.
5. บริษัทเอเอ็มเอ็นเอ็นเนอร์จี.(2554). แบตเตอรี่แห้ง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://amnenergy.com/. 26 มกราคม 2557.
6. เกียรติศักดิ์ เพชรมี. (2556). การคำนวณแรงบิด กำลังและประสิทธิภาพของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://9arduino.blogspot. com/2013/07/blog-post.html. 31 มกราคม 2557.
7. โปรซอฟท์คอมเทค. (2557). วิธีคิดค่าเสื่อมราคา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.prosoft.co.th/.5 กุมภาพันธ์ 2557.
8. เช็คราคาดอทคอม.(2557). อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงของรถจักรยานยนต์ยี่ห้อ Honda รุ่น Scoopy i ปี 2014. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.checkraka.com/price/motorcycle-15-157/?brand=134. 15 ธันวาคม 2557.
9. ไทยแลนด์เมาเทนไบค์.(2557). อายุการใช้งานของเฟรมจักรยาน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=29734. 15 ธันวาคม 2557.
10. เกสร เพ็ชราช.(2539). การจัดการพลังงานไฟฟ้าในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.