โครงการศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในเขตเทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

สมยศ รักษาศิล

บทคัดย่อ

 


           วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาความชุกของการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงและความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในเขตเทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี   รูปแบบการศึกษาการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ประชากรที่ศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในเขตเทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ ช่วงระยะเวลาระหว่าง เดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ. 2554 วิธีการศึกษาสัมภาษณ์ ชื่อ-นามสกุล เพศ อายุ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร ประวัติอดีต ประวัติโรคในครอบครัว รายได้ของครอบครัว ตรวจวัดและบันทึกความดันโลหิต น้ำหนักและส่วนสูง


            ผลการศึกษาพบว่าจำนวนประชากรทั้งหมด 930 คน แบ่งเป็นเพศชาย 488 คน เพศหญิง 442 คน อายุอยู่ระหว่าง 9-10 ปี พบความชุกของความดันโลหิตสูงคิดเป็นร้อยละ 5.8 แยกเป็นภาวะความดันโลหิต systolic สูง ร้อยละ3.5 และภาวะความดันโลหิต diastolic สูง ร้อยละ 3.6 พบอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะอ้วน ร้อยละ 32.5 และภาวะน้ำหนักเกิน ร้อยละ 13.4 ใช้สมการการวิเคราะห์ถดถอยแบบเส้นตรงหาความสัมพันธ์ระหว่างความดันโลหิตและปัจจัยต่างๆ กับการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง พบความสัมพันธ์ระหว่างอายุที่เพิ่มขึ้นและความอ้วน กับการเกิดภาวะความดันโลหิต systolic ที่สูง โดยอายุที่เพิ่มขึ้น 1 เดือน ความดันโลหิต systolic จะลดลง 0.07 มม.ปรอท และความอ้วน (%wt for ht) ที่เพิ่มขึ้น 1 หน่วย ความดันโลหิต systolic จะเพิ่มขึ้น 0.2 มม.ปรอท นอกจากนี้ ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างความอ้วนและรายได้ต่อเดือนของผู้ปกครอง กับการเกิดภาวะความดันโลหิต diastolic ที่สูงโดยความอ้วนที่เพิ่มขึ้น 1 หน่วย ความดันโลหิต diastolic จะเพิ่มขึ้น 0.2 มม.ปรอท และรายได้ของผู้ปกครองต่อเดือนที่เพิ่มขึ้น 1 บาท ความดันโลหิต diastolic จะเพิ่มขึ้น 0.07 มม.ปรอท  


           สรุปอุบัติการณ์ภาวะความดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มที่ศึกษาในงานวิจัยนี้มีอุบัติการณ์สูงกว่าจากการสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกา และภาวะอ้วนเป็นปัจจัยเดียวที่มีผลต่อภาวะความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00  คล้ายการศึกษาในประเทศอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมอนามัย กองโภชนาการ. 2543. คู่มือแนวทางการใช้เกณฑ์อ้างอิงน้ำหนัก ส่วนสูง เพื่อประเมินภาวการณ์ เจริญเติบโตของเด็กไทย. กรุงเทพฯ : องค์การทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
2. กรมอนามัย กองโภชนาการ. 2549. รายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทยครั้งที่ 5. นนทบุรี: กรมอนามัย
3. สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2548. Food Composition Database ND.3 for INMUCAL Program. สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
4. Avinash Sharma, Neelam Grover. and Shayam Kaushik. 2010. Prevalence of hypertension among school children in Shimla. Indian Pediatrics. 15: 1-4
5. Cihangir Akgun, Murat Dogan. and Sinan Akbayram. 2010. The incidence of asymptomatic Hypertension n school children. J Nippon Med Sch. 77: 160-165.
6. Ghannem H, Ben Abdelaziz A. and Limam K. 2005. Tracking of cardiovascular risk factors among school children: four-year population surveillance in Susa, Tunisia. Tunis Med. 83(7): 404-408.
7. Hansen ML, Gunn PW. and Kaelber DC. 2007. Underdiagnosis of hypertension in children and adolescents. JAMA. 298: 874–879
8. He Q et al. 2000. Blood pressure is associated with body mass index in both normal and obese children. Hypertension. 36: 165–170.
9. Jonathan M. McGavock, Brain Torrance. and Karen Ashlee McGuire. 2007. The relationship between weight gain and blood pressure in children and adolescents. Amercan Journal of Hypertension. 20: 1038-1044.
10. Lauer RM, Clarke WR. 1989. Childhood risk factors for high adult blood pressure: the Muscatine Study. J Pediatrics. 84(4): 633-641.
11. Liang Ke et al. 2009. The relationship between obesity and blood pressure differs by ethnicity in Sydney school children. American Journal of hypertension. 22(1): 52-58.
12. Manzoli L et al. 2005. Prevalence of obesity, overweight and hypertension in children and adolescents from Abruzzo, Italy. Ann Ig. 17(5): 419-431.
11. Matsuoka S, Awazu M. 2004. Masked hypertension in children and young adults. Pediatrics Nephrol. 19: 651-654.
13. Mohan B et al. 2004. Prevalence of sustained hypertension and obesity in urban and rural schoolgoing children in Ludhiana. Indian Heart J. 56(4): 310-314.
14. Naomi DLF and Gordon HW. 2005. Hypertensive Vascular Disease. In: Dennis Kasper, Eugene Braunwald, Antony Fauci, Stephen Hauser, Dan Longo, Larry Jameson, editors. Harrison’s Principle of Internal Medicine. 16th New York: MCGraw-Hill. 1467-1468.
15. National Institutes of Health National Heart, Lung, and Blood Institute. 2005. The forth report on the Diagnosis, Evaluation, and Treatment of High Blood Pressure in Children and Adolescents. National Institutes of Health. J Pediatrics. 114: 555-576.
16. Ostchega Y and others. 2009. Trends of elevated blood pressure among children and adolescents: data from the National Health and Nutrition Examination Survey 1988-2006. Am J Hyperten. 22: 59-67.
17. Rames LK et al. 1978. Normal blood pressure and evaluation of sustained blood pressure elevation in childhood: the Muscatine study. Pediatrics. 61: 245-251.
18. Sinawat S. 2008. prevalence of childhood obesity in Thailand. Siriraj Med J. 60(1): 41.
16. Sorof JM et al. 2004. Overweight, ethnicity, and the prevalence of hypertension in school aged children. Pediatrics. 113: 475-482.