ความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม และแนวโน้มการทำงานเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม ของนิสิตปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Main Article Content

สุพาดา สิริกุตตา
ไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์
ธนภูมิ อติเวทิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจ แนวโน้มการทำงานเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม โดยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติ การรับรู้เกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม           กับแนวโน้มการทำงานเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับ          นิสิตปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 300 คน ผลการวิจัยพบว่า นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคมอยู่ในระดับมาก มีทัศนคติเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคมอยู่ในระดับดี การรับรู้เกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคมอยู่ในระดับปานกลาง และแนวโน้มการทำงานเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคมอยู่ในระดับมาก กลุ่มตัวอย่าง  ที่เป็นเพศชาย และมีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 20,001 – 30,000 บาท มีแนวโน้มการทำงานเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคมมากกว่ากลุ่มอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ทัศนคติและการรับรู้มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการทำงานเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. พสุ เดชะรินทร์. 2552. ผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneur). กรุงเทพธุรกิจ. วันที่ 13 มกราคม 2552
2. โพธิวิชชาลัย. 2557. ข้าวต้นน้ำ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2557 จาก http://bodhi.swu.ac.th/
3. บัณฑิตวิทยาลัย. 2557. สถิติจำนวนนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2557. วันที่ 1 มีนาคม 2557
4. สถาบัน changFusion. 2553. กิจการเพื่อสังคม. ใน. แผ่นพับกิจการเพื่อสังคม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2557 จาก http://changefusion.org. หน้า 12-13, 20.
5. สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ. 2557. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2557 จาก http://www.tseo.or.th
6. Chattananon, A., Lawley, M., Trimetsoontorn, J., Supparerkchaisakul, N., & Leelayouthayothin, L. 2007. Building Corporate Image Throuhg Societal Marketing Programs. Society and Business Review, (3), 230-253. http://dx.doi.org/10.1108/17465680710825442.
7. Diehl, Sandra., Mueller, Barbara., & Terlutter, Ralf. 2013. The Influence of Demograhpic Factors on the Perception of Humane-Oriented (CSR) Appeals in Advertisements: A Multi-Country Analysis. Advances in Advertising Research. Vol. IV. pp. 313-327.
8. Kotler, Phillip. 1997. Advanced Marketing Management. 9th ed. New Jersey: Prentice-Hall.
9. Madsen, Kevin Moforte. 2013. Social Enterprise In Lation America: Dimensions of collaboration among social entrepreneurs. Center for Public Policy Administration Capstones. P.23
10. Nga J.K.H & Shamuganathan G. 2010. The Influence of personality Traits and Demographic Factors on Social Entrepreneurship Start Up Intentions. Journal of Business Ethic. Volume 95. Issue 2, pp. 259-282.
11. Šimić, Mirna Leko & Štimac, Helena. 2010. CSR: Croatian Consumer’s Response. Academic Public Administration Studies
12. Taro Yamane. 1997. Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.
13. Virvilaite, Regina and Daubaraite, Ugne. (2011). Corporate Social Responsibility in Forming Corporate Image. Inzinerine Dkonomika-Engineering Economics, 2011, 22(5), 534-543.
14. Wang, Lei. 2011. Factors affecting perceptions of corporate social responsibility implementation: and emphasis on values. Academic Dissertation, Faculty of Agriculture and Forestry University of Helsinki
15. Widiastuti, Theresia Diah. 2013. The Relationship between personality Characteristics, Demographic Factors and Entrepreneurial Propensity of Students. The 2nd IBSM, International Conference on Business and Management 2-4 October 2013, Chiang Mai- Bangkok.