ปัจจัยสนับสนุน ผลกระทบ ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการสัญจรเพื่อการท่องเที่ยวในเขตระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ระบุสภาพทางกายภาพชุมชนเมืองท่องเที่ยวในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และ (2) พรรณนาองค์ประกอบต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการสัญจรอัจฉริยะเพื่อการท่องเที่ยว รวมทั้งผลกระทบ ปัญหา และอุปสรรค
การวิจัยนี้ใช้วิธีการดำเนินงานแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ มีพื้นที่ศึกษา 3 จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยองเก็บรวบรวมข้อมูล 2 รูปแบบคือ (1) การสัมภาษณ์เชิงลึกมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารภาครัฐระดับจังหวัด ผู้บริหารภาครัฐระดับท้องถิ่น ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไป (2) การสนทนากลุ่ม (Focus group) มีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารภาครัฐระดับจังหวัด ผู้บริหารภาครัฐระดับท้องถิ่น ผู้ประกอบการด้านพัฒนาเมือง ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กในท้องถิ่น ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวหรือการบริการต่อเนื่อง ผู้แทนจากแหล่งท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไป การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย (1) SWOT Analysis (2) การตรวจประเมินเบื้องต้น (GAP Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า (1) ทั้ง 3 จังหวัดมีความพร้อมทางกายภาพ คือ ในด้านการท่องเที่ยวทั้ง 3 จังหวัดมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งแหล่งท่องเที่ยวเชิงกายภาพและวัฒนธรรม โดยจังหวัดชลบุรีมีความได้เปรียบมากที่สุด ในด้านคมนาคมทั้ง 3 จังหวัดมีความคล่องตัวเนื่องจากมีระบบโครงข่ายการคมนาคมที่ครอบคลุม และมีความหลากหลาย โดยจังหวัดชลบุรีมีความได้เปรียบมากที่สุด ในด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง 3 จังหวัดมีความอุดมสมบูรณ์ โดยจังหวัดฉะเชิงเทรามีความได้เปรียบมากที่สุด (2) องค์ประกอบต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการสัญจรอัจฉริยะเพื่อการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านคมนาคม (ก) ในด้านเศรษฐกิจ มีจุดยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับกรุงเทพมหานครและจังหวัดในภาคตะวันออกจึงมีศักยภาพด้านการค้า และเป็นศูนย์กลางในการขนส่ง นอกจากนี้ยังมีท่าเรือเดินสมุทรจึงเกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม การค้าและการบริการในระดับสูง (ข) ในด้านสังคม หลายพื้นที่ได้รับอิทธิพลจากการขยายตัวของเมือง มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคการเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น และมีการจ้างงานจากแรงงานภายนอกพื้นที่ จึงทำให้มีปัญหาด้านประชากรแฝงในพื้นที่ (ค) ในด้านสิ่งแวดล้อม ทั้ง 3 จังหวัดมีความอุดมสมบูรณ์ แต่ก็มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเช่นกัน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ปัญหาดังกล่าวอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และ (ง) ในด้านคมนาคม ทั้ง 3 จังหวัดมีการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมดีในระดับระหว่างเมือง อย่างไรก็ตามในระดับภายในตัวเมืองถือว่ายังไม่ดีเท่าที่ควร
Article Details
References
สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน พ.ศ. 2563, ม.ป.ป.
สำนักงานจังหวัดชลบุรี. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2561-2565 ฉบับทบทวน พ.ศ. 2563, ม.ป.ท.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนปฏิบัติการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, ม.ป.ท.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนปฏิบัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, ม.ป.ท.
สำนักงานจังหวัดระยอง. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดระยอง (พ.ศ.2561-2565), ม.ป.ป.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2560). รายงานการศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study) การจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, ม.ป.ท.
นันทวัน วงศ์ขจรกิตติ. (2559). นโยบายการให้บริการจังหวัดอัจฉริยะของประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11 (3), 365-377.
พรรัตน์ แสดงหาญ, วรรณวิชนี ถนอมชาติ และศิรินทรา วิสาพาค. (2561). การปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านแรงงานสัมพันธ์ของสถานประกอบกิจการที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ สถานประกอบกิจการดีเด่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้จังหวัดระยอง. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 132-140.
ภาวิณี เอี่ยมตระกูล, ไอศูรย์ เรืองรัตนอัมพร และภัททิยา ชินพิริยะ. (2560). กรอบการวิเคราะห์นโยบายการวางแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน. Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS), 95-122.
อุมาภรณ์ บุพไชย.(2561). การพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ : บทบาทของสื่อออนไลน์ในการประสานการมีส่วนร่วมในการทำผังเมือง. Veridian E-Journal Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11 (2), 3113-3130