แนวทางการจัดการขยะอย่างยั่งยืนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

นภา จันทร์ตรี
ทิพวรรณ พละสุขสมบัติ
ราตรี พิงกุศล
เรืองอุไร วรรณโก
เบญจพร ประจง
ธนวัฒน์ กันภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ขยะในเขตเทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ และเพื่อศึกษาแนวทางหรือวิธีการในการจัดการขยะที่เหมาะสมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ และประชาชนในเทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ รวมผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งสิ้น 10 คน วิธีการเก็บข้อมูล  ได้แก่ การสังเกตการณ์ (Observation) สถานการณ์ของขยะมูลฝอย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ซึ่งเป็นการศึกษาสถานการณ์ของขยะมูลฝอยในชุมชน จากนั้นนำเสนอข้อมูลให้กับผู้นำชุมชนและตัวแทนชุมชนได้รับทราบ และสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อหาแนวทางในการจัดการขยะที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนด้วยกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม( A-I-C ) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณา


              ผลการวิจัย พบว่า  เทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บขยะภายในชุมชนเป็นอย่างยิ่ง โดยมีโครงการต่างๆทั้งดำเนินการเอง และโครงการที่ร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการให้ความรู้และปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการขยะของชุมชนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ การอบรมเชิงปฏิบัติการจัดการขยะ การเก็บขยะ  ผ่านการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง อาทิ ป้าย เฟสบุ๊ค เป็นต้น แต่รถขนขยะอยู่ในสภาพเก่า บางครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์รถขนขยะเสียในเวลาเดียวกันจะส่งผลต่อการจัดเก็บขยะ ทำให้มีปัญหาขยะล้นถัง ในส่วนของประชาชนและผู้ประกอบการให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวกับการจัดการขยะ เพราะตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการจัดการขยะ เนื่องจากแหลมสิงห์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยพบว่าชาวบ้านในชุมชนมีการคัดแยกขยะในครัวเรือน เช่น ขวดพลาสติกเพื่อขาย สร้างรายได้ให้ครอบครัว แต่ละครัวเรือนจะมีถังขยะของตนเองก่อนที่จะนำมาทิ้งในถังขยะที่ทางเทศบาลนำมาตั้งไว้ จากนั้นรถขยะของทางเทศบาลจะมาจัดเก็บ พบชาวบ้านบอกว่ามีของเหลวที่เกิดจากขยะเปียกที่เน่าเหม็นไหลออกมาจากกองขยะในรถเก็บขยะของทางเทศบาลไหลลงพื้นถนนที่รถเก็บขยะเคลื่อนที่ผ่านไป ทำให้ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนบ้านเรือนที่อยู่ติดริมถนน อีกทั้งยังพบว่ามีชาวบ้านบางส่วนที่ยังนิยมเผาขยะ เช่น เศษใบไม้ และบางบ้านที่อาศัยอยู่ซอยลึกๆที่รถเก็บขยะเข้าไม่ถึง จะมีปัญหาขยะกองเกลื่อนกลาดบริเวณบ้าน เป็นต้น เพราะชาวบ้านบางส่วนนั้นไม่มีความรู้เรื่องการจัดการขยะที่ถูกวิธี  ในส่วนแนวทางในการจัดการขยะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ การส่งเสริมความรู้ในการคัดแยกขยะให้ชาวบ้าน การประดิษฐ์ถังขยะหรือภาชนะบรรจุด้วยวัสดุในท้องถิ่น การจัดการขยะในครัวเรือนที่ถูกวิธีเพื่อลดปริมาณขยะที่จะถูกนำมากำจัด การรณรงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกรักษ์โลก ลดขยะอย่างต่อเนื่อง การอบรมให้ความรู้การแปรรูปขยะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน เช่น ปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น การจัดเก็บขยะที่มีประสิทธิภาพของทางเทศบาล เช่น การใช้ตาข่ายรองขยะในท่อระบายน้ำ การป้องกันของเหลวที่มาจากเศษขยะเปียกจากการจัดเก็บขยะไหลลงบนพื้นถนน เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมควบคุมมลพิษ. (2560). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2560. บริษัทวงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด.
2. จันทร์เพ็ญ มีนคร. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลบางนางลี่อำเภออัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
3. ทะนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำและคณะ. (2534). การพัฒนาชุมชนเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
4. นิรันดร์ จงวุฒิเวศน์. (2527). กลวิธีแนวทางวิธีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
5. ปวีณา วีรยางกูร. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ดอำเภอปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี.การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
6. ปิยวัฒน์ โพชะกะ และกาญนิถา ครองธรรมชาติ. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงโสกพระ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น. 18(2): 56 – 57.
7. ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). (13 ตุลาคม 2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก.
8. สุกฤษฎิ์พงษ์ วะเจดีย์. ( 2551). การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยในเขตตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2562. จาก http://202.28.199.3/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=18015 8&display=list_subject&q=%BA%D8%A4%C5%D2%A1%C3
9. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564).