การพัฒนาเมนูปูให้เป็นอาหารเฉพาะถิ่นของจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ชุตาภา คุณสุข
ลลิดา เจริญวิเศษ
สายธาร เสาทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาการพัฒนาและสร้างสรรค์เมนูปูให้เป็นอาหารเฉพาะถิ่นของจังหวัดจันทบุรี โดยการเก็บรวบรวมตัวอย่างปูสดจากการทำประมงลอบปูม้า และอวนจมปูม้าทั้งหมด 3 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ เมษายน และมิถุนายน 2561 ในพื้นที่อำเภอท่าใหม่ แหลมสิงห์ และนายายอาม จังหวัดจันทบุรี จากนั้นนำมาจัดจำแนกชนิดโดยใช้ลักษณะสัณฐานภายนอก
ผลการศึกษาพบว่าการทำประมงลอบปูแบบพับได้ พบความหลากชนิดของปูทั้งหมด 12 สกุล 18 ชนิด สำหรับการทำประมงอวนจมปูม้า พบความหลากชนิดของปูทั้งหมด 16 สกุล 23 ชนิด โดยปูที่ได้จากการทำประมงลอบปูแบพับได้นั้น พบปูที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งหมด 10 ชนิด เช่น ปูกะตอยแดง (Charybdis affinis) ปูกะตอยขาว (C. anisodon) ปูม้าลาย (C. feriatus) ปูหินก้ามสัน (C. natator) ส่วนปูที่ถูกโยนทิ้ง เช่น กลุ่มปูเสฉวน ได้แก่ ปูเสฉวนขาส้ม (Clibanarius infraspinatus) ปูเสฉวนขาฟ้า (C. longitarsus) เป็นต้น สำหรับปูที่ได้จากการทำประมงอวนจมปูนั้น พบปูที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ ปูหินหนาม (Thalamita spinimana) ปูหินก้ามสัน (C. natator) ปูม้าลาย (C. feriatus)
ปูกะตอยขาว (C. anisodon) ปูหินอินโดแปซิฟิก (C. hellerii) ปูม้า (Portunus pelagicus) และ ปูดาวสามจุด Portunus sanguinolentus ส่วนปูที่ถูกโยนทิ้ง เช่น กลุ่มปูเสฉวน ได้แก่ ปูเสฉวนขาส้ม (Clibanarius infraspinatus) ปูเสฉวนยักษ์ (Dardanus megistos)


จากการสำรวจร้านอาหารในพื้นที่อำเภอท่าใหม่ และอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ทั้งหมด 6 แห่ง พบเมนูที่นำปูมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารทั้งสิ้น 35 เมนู โดยชนิดปูที่นำมาทำอาหารมากที่สุด คือ ปูม้า (Portunus pelagicus) รองลงมา คือ ปูดำ (Scylla transquebarica) ปูหิน (Thalamita crenata) ปูลาย (Charybdis feriatus) และปูกะตอย (Charybdis affinis, Charybdis anisodon) เมนูอาหารที่พบความนิยมในการนำมาปรุงเพื่อจำหน่ายมากที่สุด ได้แก่ ส้มตำ
ปูม้า นอกจากนี้จากการพิจารณาของกลุ่มผู้วิจัย พบว่าปูที่จับได้จากการทำประมงลอบปูม้า และอวนจมปูม้าที่มีศักยภาพมากเพียงพอที่จะนำมาพัฒนาเมนูปูได้ มี 3 ชนิด ได้แก่ ปูหิน (Thalamita crenata) ปูลาย (Charybdis feriatus) และปูกะตอยแดง (Charybdis affinis) โดยกลุ่มผู้วิจัยได้พัฒนาเมนูขึ้นมาใหม่จำนวน 3 เมนู ได้แก่ แกงคั่วปูหินใส่ใบขลู่ ปูลายผัดผงกะหรี่ และก๋วยเตี๋ยวผัดปูกะตอย ผลการยอมรับของผู้บริโภคต่อเมนูปูที่สร้างสรรค์ขึ้นมา พบว่าเมนูปูลายผัดผงกะหรี่ มีผู้บริโภคให้การยอมรับปูลายผัดผงกะหรี่มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 97 ของผู้บริโภค ผลการประเมินการยอมรับทางด้านประสาทสัมผัส มีคะแนนเฉลี่ยทางประสาทสัมผัสอยู่ที่ 4.13 รองลงมาคือ รองลงมาคือเมนูแกงคั่วปูหินใส่ใบขลู่คิดเป็นร้อยละ 93 ของผู้บริโภค มีคะแนนเฉลี่ยทางประสาทสัมผัสอยู่ที่ 3.88 และลำดับสุดท้าย คือ เมนูก๋วยเตี๋ยวผัดปูกะตอย ผู้บริโภคให้การยอมรับเมนูนี้น้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 87 มีคะแนนเฉลี่ยทางประสาทสัมผัสอยู่ที่ 3.83

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมประมง. (2558). สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: ฝ่ายสถิติและสารสนเทศการประมง กองเศรษฐกิจการประมง กรมประมง.
2. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. (2559). รายงานการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ปี 2559. จันทบุรี: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
3. ชุตาภา คุณสุข และรังสินี วงษ์สมศรี. (2559). ความหลากหลายของปูในระบบนิเวศหาดหิน บริเวณเกาะนมสาว จังหวัดจันทบุรี. ในการประชุมวิชาการวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 10 ก้าวสู่งานวิจัยในศตวรรษที่ 21 วันที่ 19-20 ธันวาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
4. ชุตาภา คุณสุข, พรพิมล กาญจนวาศ และพงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา. (2559). การจัดการทรัพยากรปูม้าอย่างบูรณาการเพื่อความยั่งยืน: กรณีศึกษา อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
5. ชูลีรัตน์ คงเรือง และจอมภพ แววศักดิ์. (2555). การวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้านรอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. WMS Journal of Management Walailak University. 2(3): 56-60.
6. ธงชัย นิติรัฐสุวรรณ, อภิรักษ์ สงรักษ์, ชาญยุทธ สุดทองคง และกังวาลย์ จันทรโชติ. 2547. การจัดการประมงปูม้าในอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง. ตรัง: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
7. ประสาน ไมตรี. (2561). อาหารเมนูปู. เข้าถึงได้จาก https://pantip.com/profile/649740. เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2561.
8. พันธุ์ทิพย์ วิเศษพงษ์พันธุ์, วชิระ ใจงาม และธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์. (2550). ความหลากหลายทางชีวภาพของปูบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์. ในเรื่องเต็มการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45 ระหว่างวันที่ 30 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2550 กรุงเทพฯ.
9. พันธุ์ทิพย์ วิเศษพงษ์พันธุ์, วชิระ ใจงาม และเอกพันธ์ พจน์ดำรง. (2551). ความหลากหลายทางชีวภาพของปูบริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเลหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฏร์ธานี. ในเรื่องเต็มการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 46 ระหว่างวันที่ 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2551 กรุงเทพฯ.
10. ระบบฐานข้อมูลอิเลกทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. (2559). ก๋วยเตี๋ยวเส้นจันทร์ผัดปู. เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2560 จาก http://www.eculture.rbru.ac.th.
11. ลิสา สมัครพันธ์, ไพลิน เทียนปรุ, พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา และชุตาภา คุณสุข. (2559). ความหลากชนิด และการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำพลอยได้จากการทำประมงลอบปูม้า บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. ในการประชุมวิชาการชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพสธ.ครั้งที่ 7 “ทรัพยากรไทย: หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน”.ระหว่างวันที่ 24-26 มีนาคม 2559 ณ ห้องประชุมวิชาการคุ้มสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. หน้า 677-685.
12. เวปไซต์จังหวัดจันทบุรี. (2558). ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม 2560 จาก http://www.chanthaburi.go.th/new/#&panel1-1.
13. ศุภลักษณ์ วิรัชพินทุ (2532). อนุกรมวิธานของปูปอร์ทูนิดในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
14. ศรีสุภรี คงคาเย็น. (2522). อนุกรมวิธานของปูแซนทิดในท้องที่จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
15. สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี. (2561). สถิติการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี. เข้าถึงได้จากhttp://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php. เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2561.
16. สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี. (2561). เนื้อปู. เข้าถึงได้จาก http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php. เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2561.
17. อุษา คณะดี, กรรวีย์ บุญอุ้ม และจริยา พรมมาสุข. (2556). ความหลากชนิดของสัตว์น้ำพลอยได้จากการทำประมงอวนจมปูม้า บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
18. Kunsook, C. and Dumrongrojwatthana, P. (2017). Species diversity and abundance of marine crab (Portunidae: Decapoda) from a collapsible crab trap fishery at Kung Krabaen Bay, Chanthaburi Province, Thailand. Tropical Life Sciences Research, 28(1), 45-67.
19. Naiyanetr, P. (1998). Checklist of Crustacean Fauna in Thailand. Office for Environmental Policy and Planning. Bangkok. 161p.
20. Naiyanetr, P. (2007). Checklist of Crustacean Fauna in Thailand. Bangkok: Office for Natural Resources and Environmental Policy and Planning.
21. Ng, P.K.L. (1998). Crabs, pp.1046-1155. In Carpenter, K.E. and Niem, V.H. (eds.), FAO Species Identification Guide for Fishery Purpose. The Living Marine Resources of The Western Central Pacific. Volume 2. Cephalopods, Crustaceans, Holothurians and Sharks. Rome.
22. Ng, P.K.L. and Davie, P.J.F. (2002). A Checklist of the Brachyuran Crabs of Phuket and Western Thailand.