การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับพระภิกษุบวชระยะสั้นในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

เลิศพิพัฒน์ แก้ววันทอง
ดุสิต ขาวเหลือง
มานพ แจ่มกระจ่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการในการบวชระยะสั้นของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้บวชระยะสั้นของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา 3) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำหลักสูตรการฝึกอบรมไปใช้พัฒนาผู้บวชระยะสั้นในพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยแบบผสม(Mixed methods) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพระจำนวน 285 รูป จากคณะสงฆ์ภาค 13 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามจังหวัดโดยวิธีการแบ่งเป็นสัดส่วน และการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 48 รูป/คน การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับเบื้องต้น ระดับกลาง และระดับก้าวหน้า กระบวนการพัฒนาหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น 2) การพัฒนาหลักสูตร 3) ทดลอง 4) ประเมินผลหลักสูตร และรับรองหลักสูตรการฝึกอบรม วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละดัชนีประสิทธิผล และขนาดของผล (Effect size)  ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความต้องการในการบวชระยะสั้นของพระภิกษุซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร แบ่งออก
    เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเบื้องต้นบวช 5-9 วัน คิดเป็นร้อยละ 19.30  ระดับกลางบวช 10-15 วัน คิดเป็นร้อยละ 45.61 และระดับก้าวหน้าบวช 16-30 วัน คิดเป็นร้อยละ 34.74 สาเหตุของการบวชระยะสั้นเนื่องมาจากการลางานได้จำกัด คิดเป็นร้อยละ 73.33 วิชาจำเป็นที่ผู้บวชระยะสั้นต้องเรียน คือ วิชาวินัย วิชาธรรม วิชาพุทธประวัติ วิชา
    คิหิปฏิบัติ วิชาศาสนพิธี และภาวนา

  2. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับพระภิกษุบวชระยะสั้นแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับเบื้องต้นบวช 5-9 วัน ระดับกลางบวช 10-15 วัน ระดับก้าวหน้าบวช 16-30 วัน ซึ่งได้ทดลองฝึกอบรมทั้ง 3 ระดับ พบว่า
    ผลการเปรียบเทียบผลต่างของคะแนนก่อนและหลัง ได้ขนาดของผล (Effect size) ES = 68.18, ES = 74.50, ES = 69.43 ตามลำดับ ซึ่งมีค่ามากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ .80 และผลการคำนวณหาดัชนีประสิทธิผลการฝึกอบรมก่อนและหลังฝึกอบรมทั้ง 3 ระดับ พบว่า ได้ค่า E.I = 72.00, E.I =65.81, และ E.I =62.10 ตามลำดับ

  3. ความเป็นไปได้ของการนำหลักสูตรไปใช้ทั้ง 3 ระดับ สรุปว่าหลักสูตรฝึกอบรมทั้ง 3 ระดับเป็นหลักสูตรที่มีเนื้อหาของหลักสูตรที่ครอบคลุมเป็นประโยชน์และเหมาะสมกับช่วงเวลาการบวชระยะสั้น 

             

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). แนวทางการดำเนินงานโครงการบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุสามเณรและบวชศีลจาริณีภาคฤดูร้อน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
2. พระครูสุนทรประสิทธิธรรม (ประสิทธิ์ ชุตินฺธโร). (2558). กิจวัตร 10 กระบวนการฝึกตนในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
3. พระทนง ธมฺมิโก. (2553). ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการบวชในสังคมไทยปัจจุบัน. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา,คณะพุทธศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
4. พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2554). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
5. พระมหากิตติพัฒน์ ศรีนาค. (2550). แนวโน้มวิกฤตพระสงฆ์ศาสนทายาทเนื่องด้วยการบวชในสังคมไทยปัจจุบัน ศึกษาเฉพาะกรณีการบวชระยะสั้นของพระสงฆ์ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดราชบุรี. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ, คณะสังคมศาสตร์และ
มนุษย์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
6. พระมหาสหัส ฐิตสาโร. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายในวัดเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
7. พระราชวรเมธี (ประสิทธิ์ พฺรหมรํสี). (2557). วิพากษ์พุทธปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกระแสอาเซียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
8. มั่น เสือสูงเนิน. (2557). การพัฒนาตนตามแนวทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
9. ยุทธ ไกยวรรณ์. (2557). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมและควบคุมการตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้จ้างผลิต. เพชรบุรี : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
10. ยุทธ ไกยวรรณ์. (2559). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม). (2560). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา 2560-2564 “การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ”. มหาเถรสมาคม.
11. อำนาจ ปักษาสุข. (2557). การบวชในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
12. Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, pp. 608.