การศึกษาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตการค้าชายแดนภาคตะวันออกเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขัน

Main Article Content

กฤตติยา สัตย์พานิช
ทัศนัย ขัตติยวงษ์
ธีรวุฒิ สุทธิประภา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเขตชายแดนภาคตะวันออกเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขัน เป็นการวิจัยร่วมกันแบบเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างจาก 1,823 คน กลุ่มตัวอย่างใช้ ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้เชี่ยวชาญในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 15 คน และผู้เชี่ยวชาญในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์หรือค่า IR (Interquartile Range) ผลการวิจัยพบว่าศักยภาพผู้ประกอบการประกอบด้วย 3 ศักยภาพ 11 คุณลักษณะ คือ 1) ศักยภาพแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วยคุณลักษณะ ได้แก่ การแสวงหาโอกาส ความมั่นคง ความมีพันธะต่องาน ความต้องการใฝ่หาด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ และความกล้าเสี่ยง 2) ศักยภาพแห่งการวางแผน ประกอบด้วยคุณลักษณะ ได้แก่ การกำหนดเป้าหมาย การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร และการวางแผนและประเมินผล 3) ศักยภาพแห่งอำนาจ ประกอบด้วยคุณลักษณะ ได้แก่ การชี้ชวนชักจูงใจ การสร้างเครือข่าย และความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่นำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เกษรา หลิมพาณิชย์. (2559).การเจรจาการค้าของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
2. ฉัตยาพร เสมอใจ ฐิติรัตน์ มีมาก และคมกฤช ปิติฤกษ์. (2552). การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
3. ติ๋ม มณีคำ. (2560). ศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการธุรกิจ กรณีศึกษา : กิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใในแขวงบอลิคาไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. [online]. เข้าถึงได้จาก: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/85796/68239. 2560.
4. พิชญาภรณ์ พุ่มไพศาลชัย. (2549). ศักยภาพของผู้ประกอบการในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
5. พีรญา กัณฑบุตร. (2559). ปัจจัยแห่งความส าเร็จในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก : SMEs. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 59-76.
6. ภวัตธนา สารแสนล้าน. (2559). การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมในจังหวัดปทุมธานี.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาบัยสวนสุนันทา, 2(8), 74-86.
7. วินัย วารมาชาญชัย บัญชาพัฒนศักดาและอุษณีษ์ เสวกวัชรี. (2560). คุณลักษณะสำคัญของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประสบความสำเร็จในภาคธุรกิจการค้า ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารราชมงคลล้านนา, 5(2), 124-133.
8. ศักดิ์สุริยา ไตรยราช. (2556). การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้านการค้าชายแดนของจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 33(2), 61-81.
9. อรพิณ สันติธีรากุล. (2543). หนังสือคู่มือมาตรฐานการพัฒนาผู้ประกอบการSMEs การพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการ. เชียงใหม่ : ภาควิชาการจัดการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
10. Cunningham, J.B. and Lischeron, J. (1991).Defining Entrepreneurship.Journal of Small Business Management, 29, 45-61.
11. Kabatire, S., Mutyaba, S.V. and Mcbay, B.W. (2007).Entrepreneurship Skills. Kampala Uganda: Netsoft Publishers.