การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพแบตเตอรี่รถไฟฟ้า 3 ล้อขนาดเล็ก สำหรับใช้ในครัวเรือน

Main Article Content

ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล
กฤษณะ จันทสิทธิ์
ธีรวัฒน์ ชื่นอัศดงคต

บทคัดย่อ

ในการทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพแบตเตอรี่รถไฟฟ้า 3 ล้อขนาดเล็ก สำหรับใช้ในครัวเรือน และเปรียบเทียบประสิทธิภาพแบตเตอรี่ระหว่างแบตเตอรี่ตะกั่วกรดกับแบตเตอรี่ ลิเธียม ไอออน ฟอสเฟต (LiFePO4) ด้วยการวิ่งทดสอบการใช้งานความเร็ว 3 ระดับ ด้วยรถไฟฟ้าขับเฟืองท้ายขนาดมอเตอร์ 500 วัตต์ ขนาดความกว้าง 160 เซนติเมตร ความยาว 108 เซนติเมตร และความสูง 69 เซนติเมตร ติดตั้งมาตรวัดความเร็ว และมาตรวัดแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และกำลังไฟฟ้า แบตเตอรี่ลิเธียม ไอออน ฟอสเฟต ขนาด 48 โวลต์ 20 แอมแปร์ พร้อมกับวงจรควบคุมการชาร์จ และคายประจุแบตเตอรี่ (BMS) ขนาด 48 โวลต์ 16S พบว่า หลังพัฒนาชุดแบตเตอรี่ลิเธียม ไอออน ฟอสเฟต ติดตั้งรถไฟฟ้า 3 ล้อ ขนาดเล็ก น้ำหนักแบตเตอรี่ลดลง 15.61 กิโลกรัม หรือร้อยละ 59.02 ระยะเวลาการชาร์จลดลง 5 ชั่วโมง หรือร้อยละ 37.50 ทดสอบการเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 3 ระดับ (ช้า ปานกลาง และสูง) เฉลี่ย 3 ครั้งในแต่ละระดับความเร็ว วัดระยะทาง ระยะเวลา และความเร็วสูงสุดของรถขณะวิ่ง โดยแบตเตอรี่ลิเธียม ไอออน ฟอสเฟตมีประสิทธิภาพระยะทางการเคลื่อนที่ดีกว่าแบตเตอรี่ตะกั่วกรดร้อยละ 19.60 33.63 และ 30.27 อีกทั้งยังมีรูปทรง และน้ำหนักของแบตเตอรี่ลดลง สามารถชาร์จได้มากกว่าถึง 2,000 รอบ ไม่มีการก่อตัวของสารเคมีภายใน ไม่มีไอกรดซึ่งเป็นสาเหตุของการติดไฟ ดูแลรักษาง่าย และวัสดุยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ เป็นต้นแบบของอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า และยังมีส่วนช่วยร่วมรณรงค์การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ จันทสิทธิ์ ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล และคมสัน มุ่ยสี. (2562). อุปกรณ์เก็บเกี่ยวผลไม้ระบบไฟฟ้าชนิดอเนกประสงค์เพื่อชุมชนรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพรรณี. 13 (กันยายน ถึง ธันวาคม): 43-52.

เจนศักดิ์ เอกบูรณะวัฒน์. (2558). รถสามล้อไฟฟ้าสำหรับคนพิการแบบถอดประกอบได้. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2560). การศึกษาเทคโนโลยีและนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า. รายงานฉบับสมบูรณ์ ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า.

ยศพงษ์ ลออนวล. (2556). การพัฒนาของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและผลกระทบที่เกิดขึ้นสำหรับประเทศไทย. รายงานการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

วรวริศ กอปรสิริพัฒน์. (2559). รู้จักแบตเตอรี่ตอนที่ 4 แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน. เทคโนโลยีวัสดุ. ฉบับที่ 80 (มกราคม – มีนาคม): 64-70.

อาร์ เค บี แบตเตอรี่. (2560). วงจร BMS (Battery Management System) ในแบตเตอรี่แพค คืออะไร. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : https://www.rkbbattery.com/2018/12/25/battery-management-system/. . 6 พฤศจิกายน 2562.