การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

ธัญญารัตน์ สงวนศรี
ชลิดดา ปัญญาวรคุณชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น พ.ศ.2559 และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP) ของสตัฟเฟิลบีม ใน 4 ด้านคือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ ได้แก่ บัณฑิต นักศึกษาปัจจุบัน ผู้ใช้บัณฑิต อาจารย์ จำนวน 84 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลในปี พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความพึงพอใจออนไลน์สำหรับผู้ใช้บัณฑิต (α = .96) และแบบประเมินสำหรับอาจารย์ บัณฑิต นิสิตปัจจุบัน (α = .98) ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านบริบท วัตถุประสงค์ โครงสร้าง เนื้อหาวิชาของหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก แต่มีข้อเสนอแนะว่าควรปรับปรุงเนื้อหาบางรายวิชา ควรรวบรายวิชาที่มีเนื้อหาทับซ้อนกัน และควรเพิ่มรายวิชาฝึกงาน/วิชาที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า คุณสมบัติผู้เรียนและกระบวนการคัดเลือกมีความเหมาะสม อาจารย์ผู้สอนมีคุณสมบัติเหมาะสมอยู่ในระดับมาก รวมถึงสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกมีความเหมาะสมเพียงพอ 3) ด้านกระบวนการ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า การจัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4) ด้านผลผลิต ผู้ใช้บัณฑิตมีความคิดเห็นว่า งานที่บัณฑิตปฏิบัติอยู่ตรงกับสาขาวิชาที่สำเร็จการการศึกษาคิดเป็นร้อยละ100 และมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่ก็มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีโครงการความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และทักษะให้กับผู้เรียนก่อนเข้าทำงานจริง แนวทางในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรที่จำเป็นครั้งต่อไปพบว่า ควรปรับลดรายวิชาที่มีเนื้อหาทับซ้อนกันและให้มีความทันสมัย ปรับเพิ่มรายวิชาที่มุ่งเน้นการฝึกงานหรือการบูรณาการข้ามศาสตร์ และการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นนิสิตให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กาญจนา วัธนสุนทร. (2551). การประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP ของสตัฟเฟิลบีมในการประเมินโครงการทางการศึกษา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. 2 (มกราคม - มิถุนายน): 67-83.
2. จรรยา ดาสา, ณสรรค์ ผลโภค, ธีรพงศ์ แสวงประดิษฐ์ และสมปรารถนา วงศ์บุญหนัก. (2553). รายงานการวิจัยเรื่องการประเมินและติดตามผลหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา (แผน ข) มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. รายงานการวิจัย ศูนย์วิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.
3. ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, สมจิตรา เรืองศรี, กิตติศักดิ์ ลักษณา, พรภิรมย์ หลงทรัพย์. (2560). การประเมินหลักสูตรแนวใหม่รูปแบบCIPPIEST. วารสารพยาบาลตำรวจ. 9 (กรกฏราคม - ธันวาคม): 203-212.
4. ธํารง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
5. ปทีป เมธาคุณวุฒิ. (2532). หลักสูตรอุดมศึกษา : การประเมินและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 4 (กรกฎาคม – ธันวาคม): 25-40.
7. รัชดาภรณ์ ตัณฑิกุล. (2559). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11 (พฤษภาคม – สิงหาคม): 237-245.
8. วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2561). แนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี. 7 (มกราคม - มิถุนายน): 1-10.
9. ศศิธร บัวทอง .(2560). การวัดและการประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10 (พฤษภาคม - สิงหาคม): 1856-1867.
10. สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข. (2547). ความพึงพอใจของผู้จ้างงานบัณฑิตภาควิชาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 4 (มกราคม - มิถุนายน): 148-162.
11. Best, J.W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice-Hall.
12. Hilda, Taba. (1962). Curriculum development: theory and practice. New York: Harcourt. Brace and World.
13. Olivia, P. F. (2009). Developing the Curriculum (7thed.). Boston: Allyn and Bacon.
14. Stufflebeam, D.L. (2003). The CIPP model for evaluation. In International Handbook of Educational Evaluation. Stufflebeam, D.L., Kellaghan.T, eds. Dordrecht, The Netherland: Kluwer Academic. pp. 31-62.
15. Stufflebeam, D.L., & Shinkfield, A.J. (2007). Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
16. กองความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ. รายงานภาวะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย. [Online]. เข้าถึงได้จาก: https://www.boi.go.th/upload/content/Foreign%20Investment%20Report%202017_5b7a3c1d2a86a.pdf. 2560.
17. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. มาตรฐานการอุดมศึกษาและแนวทางการนำมาตรฐานสู่การปฏิบัติ. [Online]. เข้าถึงได้จาก: http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/Standard%20of%20Higher%20Education-14-9-61/06-มาตรฐานการอุดมศึกษาและแนวทางการปฏิบัติ%2014.9.18.pdf. 2561.
18. Japanese Chamber of Commerce Bangkok (JCC). A Survey of Business Sentiment o Japanese Corporations for the 1H half of 2018 summary data. [Online]. เข้าถึงได้จาก: https:// www.jcc.or.th/en/news/detail/id/262. 2018.