การสำรวจการทำประมงอวนจมปูเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน บริเวณหาดวอนนภา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

สุรพล ฉลาดคิด

บทคัดย่อ

การสำรวจการทำประมงอวนจมปูเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน บริเวณหาดวอนนภา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการทำการประมง องค์ประกอบและขนาดของชนิดสัตว์น้ำ และประเมินผลจับปูม้าด้วยอวนจมปู ด้วยวิธีสัมภาษณ์ชาวประมง และสุ่มตัวอย่างชั่งวัดขนาดสัตว์น้ำจากเครื่องมืออวนจมปูของชาวประมง ระหว่างเดือนตุลาคม 2560 ถึงเดือนกันยายน 2561 พบผลการศึกษาชาวประมงที่ทำการประมงโดยเรือเครื่องวางท้อง และเรือเครื่องหางยาว โดยใช้อวนที่มีความยาว 2,160-7,200 เมตร มีค่าเฉลี่ยการจับของอวนจมปู 0.10 กิโลกรัมต่ออวนขนาดความยาว 100 เมตร โดยมีผลจับสูงสุดมีค่าเฉลี่ย 0.16 กิโลกรัม การวิเคราะห์องค์ประกอบของสัตว์น้ำจากการทำประมงอวนจมปูพบสัตว์น้ำทั้งสิ้น 22 ชนิด มีปูม้าเป็นองค์ประกอบหลักซึ่งมีจำนวนและน้ำหนักร้อยละ 76.02 และ 78.53 ตามลำดับ ขนาดปูม้าที่จับได้มีความกว้างกระดองอยู่ในช่วง 5.52-14.00 เซนติเมตร โดยพบปูม้าเพศผู้และเพศเมียมีขนาดความกว้างกระดองเฉลี่ย 9.83 และ 9.84  เซนติเมตร ตามลำดับ และมีผลจับเฉลี่ยต่อราย 1.38 -7.00 กิโลกรัม การสัมภาษณ์ชาวประมงจำนวน 130 ราย ที่ทำประมงอวนจมปู มีผลจับรวมทั้งปี 201.018 ตัน และมีค่าเฉลี่ยผลจับต่อเดือน 16.75 ตัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมประมง. (2558). สถิติการประมงแห่งประเทศไทยปี 2556. กรุงเทพมหานคร: กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
2. กรวิทย์ จันทร์กุศล และเสาวนีย์ สงิ หะไกรวรรณ. (2552). การประมงอวนจมปูและลอบปูแบบพับได้ บริเวณอ่าวไทยตอนใน เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 3/2552. กรุงเทพมหานคร: กองประมงทะเล กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
3. ธีรยุทธ ศรีคุ้ม และประภาส บินราหมาน. (2546). รายงานการวิจัยการศึกษาประสิทธิภาพอวนจมปู. เอกสารวิชาการฉบับที่ 1/2546 กรุงเทพมหานคร: สํานักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล, กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. หน้า 25.
4. ธีรยุทธ ศรีคุ้ม, ประภาส บินร่าหมาน และสุวิชา ใจปี่ยม. (2555). การประมงอวนจมปูบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก. เอกสารวิชาการฉบับที่ 12/2555. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ระยอง), สถาบันวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีประมงทะเล. หน้า 18.
5. มนตรี สุมณฑา และวุฒิชัย วังคะฮาต. (2549). การประมงอวนจมปูบริเวณจังหวัดระยอง. เอกสารวิชาการฉบับที่ 27/2549. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งอันดามัน, สำนักวจัยและพัฒนาประมงทะเล. หน้า.17
6. วราภรณ์ เดชบุญ และหัสพงศ์ สมชนะกิจ. (2549). การประมงปูม้าบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 19/2549. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนลาง, กรมประมง. หน้า 28.
7. วิไชย ไชยแก้ว. (2551). ชนิดและปริมาณสตวน้ำจากการทําการประมงดวยอวนจมปูในบริเวณอาวบางสะพาน อําเภอ บางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตร์บัณฑิต, สาขาวิชาการประมง, มหาวิทยาลัย แม่โจ้.
8. วีระ บุญรักษ์, จำนอง อุบลสุวรรณ และสนธยา บุญสุข. (2541). ผลการออกมาตรการอนุรักษ์ปลาทู โดยการปิดอ่าวพังงาทางฝั่งทะเลอันดามัน พ.ศ. 2528-2540. รายงานทางวิชาการฉบับที่ 45/2541. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พัฒนาประมงทะเลฝั่ง อันดามัน, กองประมงทะเล. กรมประมง. หน้า 62.
9. วุฒิชัย วังคะฮาต, พีระ อ่าวสมบูรณ์, ธีรภัทร ศุภสริพงศ์และ ธีระชัย เรืองพริ้ม. (2538). การศึกษาประสิทธิภาพอวนจมปู. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 32. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พัฒนาประมงทะเลฝั่งอันดามัน, กองประมงทะเล. กรมประมง. หน้า 13.
10. วุฒิชัย วังคะฮาต, ธีรยุทธ ศรีคุ้ม, กมลพันธ์ อวัยวานนท์, ศันสนีย์ ศรีจันทร์งาม, อำนาจ ศิริเพชร, เฉลิมชาติ อรุณโรจน์ประไพ และกำพล ลอยชื่น.(2550). การประมงอวนจมปู. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 13/2550. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล. กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ. หน้า 41.
11. วัลภา จีปราบนันท์.(2550). รายงานการวิจัยการศึกษาทรัพยากรปูม้า (Portunus pelagicus) อวนจมปู. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). หน้า 29.
12. ศันสนีย์ ศรีจันทร์ และโรจนรุฒน์ รุ่งเรือง. (2549). การประมงอวนจมปูบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี. เอกสารวิชาการฉบับที่ 20/2549. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร). สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล. หน้า 22.
13. สุชาติ แสงจันทร์ และ สมศักดิ์ ศิริรักษ์. (2547). การประมงอวนจมปูบริเวณอ่าวพังงา. เอกสารวิชาการฉบับที่ 5/2547. กรุงเทพมหานคร: สํานักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล, กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ. หน้า 20.
14. สุรพล ฉลาดคิด. (2559). การทำการประมงอวนจมปู บริเวณหาดวอนนภา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล. มหาวิทยาลัยบูรพา.
15. สุรพล ฉลาดคิด. (2560). การทำการประมงอวนจมปู บริเวณหาดวอนนภา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล. มหาวิทยาลัยบูรพา.
16. หทัยชนก เสาร์สูง และจิราภรณ์ ไตรศักดิ์. (2552). การประยุกต์ใช้ข้อมูลการประมงพื้นบ้านในการศึกษาการแพร่กระจายของประชากรปูม้า. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 3(เมษายน-มิถุนายน): หน้า 187-194.
17. อลงกรณ์ พูนพานิช, กำพล ลอยชื่น และธศินี นนทพันธ์. (2549). การประมงอวนจมปู บริเวณจังหวัดสตูล. เอกสารวิชาการฉบับที่ 22/2549. ภูเก็ต: ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลฝั่งอันดามัน. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล. หน้า 20.