การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องการจัดตกแต่งสถานที่เพื่อการประกอบอาชีพ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว

Main Article Content

พงษ์สิทธิ์ พิริ
วิวัฒน์ เพชรศรี
สุนิตย์ตา เย็นทั่ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดตกแต่งสถานที่เพื่อการประกอบอาชีพ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้หลักสูตร 3) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติก่อนและหลังใช้หลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้หลักสูตร ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินเพื่อรับรองคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การการจัดตกแต่งสถานที่เพื่อการประกอบอาชีพ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ และ 3) แบบวัดทักษะปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าร้อยละ  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า


  1. หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดตกแต่งสถานที่เพื่อการประกอบอาชีพ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว มีองค์ประกอบของหลักสูตร 12 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) โครงสร้าง 4) ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 5) ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม 6) การจัดกิจกรรมการอบรม 7) สื่อและวัสดุอุปกรณ์ 8) การวัดและประเมินผล 9) เนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม 10) รายละเอียดการจัดกิจกรรม 11) แผนการจัดการฝึกอบรม และ 12) เอกสารประกอบหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยของการประเมินเพื่อรับรองคุณภาพของหลักสูตร เท่ากับ 4.72 มีความเหมาะสมมากที่สุด

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยหลักสูตรฝึกอบรม สูงกว่าก่อนเรียนด้วยหลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ทักษะปฏิบัติการใช้หลักสูตรฝึกอบรมหลังใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนใช้หลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมวิชาการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2545. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว.
2. ชนิสรา เทียมตระกูล. (2556). การจัดดอกไม้ในงานพิธี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
3. ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
4. บรรพต สุวรรณประเสริฐ. (2554). การพัฒนาหลักสูตรโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 2.
เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์.
5. บุญชม ศรีสะอาด. (2546.) การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
(2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวิรินาสาส์น.
6. บุญฑริกา แจ่มจำรัส. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องการประดับสถานที่ด้วยผ้าสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
7. พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125, ตอนที่ 43 ก. (15 สิงหาคม) : 3.
8. มนตรี วงษ์สะพาน. (2554). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
9. มาลินี จุฑะรพ. (2539). จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
10. วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
11._______ (2552). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน-มิติใหม่. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
12. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชา
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ.
13. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.
เข้าถึงได้จาก http://www.onec.go.th.
14. สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่ : แสงศิลป์.