ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุตอนต้น และตอนปลาย ในตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

วิทมา ธรรมเจริญ
นิทัศนีย์ เจริญงาม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุตอนต้นและตอนปลาย ในตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นแบบสองขั้น ได้ตัวอย่างผู้สูงอายุที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 276 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยวิธีขั้นตอน (Stepwise) ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุตอนต้นและตอนปลายมีภาวะสุขภาพในระดับดีมาก มีแรงสนับสนุนทางสังคม และมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุตอนต้น ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ ความสมบูรณ์ทางจิต ความสมบูรณ์ทางกาย การสนับสนุนด้านสิ่งของ แหล่งที่มาของรายได้มาจากบุตร/ หลาน ความสมบูรณ์ทางสังคม และการดื่มแอลกอฮอล์ โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุตอนต้นได้ร้อยละ 50.40 ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุตอนปลาย ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05  ได้แก่ การสนับสนุนด้านสิ่งของ ความสมบูรณ์ทางปัญญา ความสมบูรณ์ทางจิต และการสนับสนุนด้านอารมณ์ โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุตอนปลายได้ร้อยละ 43.50

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมกิจการผู้สูงอายุ. นโยบายของกรมกิจการผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.dop.go.th/main/law_list.php?id=33. มปป.
2. กัลยา วานิชย์บัญา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
3. ขนิษฐา โกเมนทร์. (2547). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
4. ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440_0002.PDF. 2556.
5. ชุติมา วัฒนศักดิ์ภูบาล. (2551). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรงของผู้สูงอายุในเขต เทศบาลตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
6. ชัญญานุช ไพรวงษ์, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา, สำเริง แหยงกระโทก, กวี ไชยศิริ และวรัญญู สัตยวศ์ทิพย์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 4(1): 380-393.
7. พูลศักดิ์ พุ่มวิเศษ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://research.rpu.ac.th/wp-content/uploads/2017/08/Pulsak-Pumwiset_2554.pdf. 2563.
8. นิภาภัทร อยู่พุ่ม. จิตสังคมผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.stou.ac.th/stoukc/elder/main1_2.html. 2551.
9. บรรลุ ศิริพานิช. (2540). คู่มือผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.
10. บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
11. ประนอม โอทกานนท์. (2554). ชีวิตที่สุขสมบูรณ์ของผู้สูงอายุไทย หลักการ งานวิจัย และบทเรียนจากประสบการณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
12. ประเวศ วะสี. (2543). สุขภาพในฐานะอุดมการณ์ของมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูปสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
13. พรเทพ ศิริวนารังสรรค์. ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย กินกล้วยน้ำว้าไทย ห่างไกลอัลไซเมอร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://hp.anamai.moph.go.th. 2556.
14. วิลาวัลย์ รัตนา. (2552). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
15. ศุภวรินทร์ หันกิตติกุล. (2539). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
16. ศรินยา สุริยะฉาย. (2552). การประเมินความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลบางไทยป่า อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
17. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.
18. สมพร ใจสมุทร. (2547). พฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเขตลาดกระบัง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
19. สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่3. กาฬสินธุ์. ประสานการพิมพ์.
20. สุขเกษม ร่วมสุข. (2553). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ จังหวัดอำนาจเจริญ.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
21. สัญญา รักชาติ. (2554). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในจังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยสถาบันราชภัฏเชียงใหม่.
22. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :http://www.thaihealth.or.th/. 2560.
23. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2552). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: บริษัท วิกิ จำกัด.
24. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร. สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2561/jul2561-1.pdf. 2561.
25. สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. ประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามหมวดอายุ เป็นรายอำเภอ พ.ศ. 2561. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.nso.go.th/sites/2014. 2561.
26. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามกลุ่มอายุ รายจังหวัด และภาค พ.ศ. 2552 – 2561. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx. 2561.
27. เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย และมาลี สันติถิรศักดิ์. (2553). การสนับสนุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารกองการพยาบาล. 37(2): 64-76.
28. องค์การบริหารส่วนตำบลสองพี่น้อง. (2561). รายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เทศบาลตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: องค์การบริหารส่วนตำบลสองพี่น้อง จันทบุรี.
29. Hill, L and N. Smith. (1990). Self-Care Nursing Promotion of Health. New Jersey: Prentice Hall.
30. Nunnally, J.C. and Bernstein, I.H. (1994). Psychometric Theory. McGraw-Hill: New York.
31.Orem, E.D. (1985). Nursing : Concepts of Practice (2nd ed.). New York : Mc Graw Hill.
32. Tiden, V.P. (1985). “Issues of conceptualization and measurement of social support in the construction of nursing theory” , Research in Nursing and Health. 8 (January 1985): 199-206.