ส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้า ร้านซี.เจ. เอ็กซ์เพรส ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “ส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านซี.เจ. เอ็กซ์เพรส ในเขตกรุงเทพมหานคร” โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมการค้าปลีกและความจงรักภักดีของลูกค้าร้านซี.เจ. เอ็กซ์เพลส ในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านซี.เจ. เอ็กซ์เพรส ในเขตกรุงเทพมหานคร
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยซื้อสินค้าและใช้บริการของร้านซี.เจ. เอ็กซ์เพรส ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน การกำหนดกลุ่มตัวอย่างจึงหาค่าจากตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane (Yamane, 1967) ในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่น 95% การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 407 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) และการวิเคราะห์ความถดถอย (Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมการค้าปลีกที่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีลูกค้าของร้านซี.เจ. เอ็กซ์เพรส ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ด้านความหลากหลายของประเภทสินค้ามีความสัมพันธ์ระดับต่ำในทิศทางเดียวกัน ด้านส่วนประสมการสื่อสารการตลาดมีความสัมพันธ์ระดับต่ำในทิศทางเดียวกัน ด้านนโยบายการตั้งราคามีความสัมพันธ์ระดับต่ำทิศทางเดียวกัน และการบริการลูกค้ามีความสัมพันธ์ระดับต่ำในทิศทางเดียวกัน
สำหรับส่วนประสมการค้าปลีกที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านซี.เจ.เอ็กซ์เพรส ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ความหลากหลายของประเภทสินค้า ส่วนประสมการสื่อสารการตลาด นโยบายการตั้งราคา และการบริการลูกค้า ตามลำดับ
Article Details
References
2. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2542). เทคนิคการสร้างและการรวบรวมข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : บี แอนด์ บี.
3. พาโชค ลิ้มเรืองอนันต์. (2560). รูปแบบและกลยุทธ์ธุรกิจค้าปลีก ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
4. ภานุ ลิมมานนท์. (2550). กลยุทธ์การบริการการค้าปลีก. กรุงเทพมหานคร : ภาริณาส.
5. ภาวิณี กาญจนาภา. (2554). การบริหารส่วนประสมการค้าปลีกและการจัดการเชิงกลยุทธ์การตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปีที่ 34 (ตุลาคม-ธันวาคม) : 37-42.
6. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. ทิศทางค้าปลีกหลังโควิดเปลี่ยน กลยุทธ์เปลี่ยน. [Online]. เข้าถึงได้จาก :https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/pages/Retail-Covid- FB1105.aspx. 2563.
7. สินิทรา สุขสวัสดิ์ และทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร. (2561). อิทธิพลของส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีก ประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์. ปีที่ 10(ฉบับพิเศษ): 5-9.
8. อาภาพร จงนวกิจ และประสพชัย พสุนนท์. (2558). อิทธิพลของกลยุทธ์การจัดการส่วนประสมการค้าปลีกและกลยุทธ์การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่8 (พฤษภาคม-สิงหาคม):
1566-1580.
9. Positioning Magazine. โอกาสและความท้าทายค้าปลีกยุคใหม่. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://positioningmag.com/1236095. 2562.
10. Chengedzai Mafini. (2015). Drives of customer loyalty in south African retail stores.Journal of Applied Business Research. 31(4): 35-42.
11. Deepika Jhamb and Ravi Kiran. (2012). Trendy shopping replacing tracing traditional formatpreferences. African Journal of Business Management. 6 (11): 4196-4207.
12. Zeithaml, V. A., Berry, L., & Parasuraman, A. (1996). The behavioral consequences of service quality. Journal of Marketing. 60(2): 31-46.