การพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมชุมนุม English for Local Travel เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการฟัง การพูด และความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

วรพรรณ บัวขาว
อังคณา อ่อนธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลที่จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมชุมนุม English for Local Travel 2) พัฒนาหลักสูตรกิจกรรมชุมนุม English for Local Travel 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรกิจกรรมชุมนุม English for Local Travel และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยหลักสูตรหลักสูตรกิจกรรมชุมนุม English for Local Travel วิธีการดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัย และพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลที่จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมชุมนุม English for Local Travel โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาหลักสูตรกิจกรรมชุมนุม English for Local Travel เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือหลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตรกิจกรรมชุมนุม English for Local Travel และแบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตรขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้หลักสูตรกิจกรรมชุมนุม English for Local Travel กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนวัดหาดมูลกระบือ จังหวัดพิจิตร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ที่สมัครเข้าร่วมในหลักสูตรกิจกรรมชุมนุม English for Local Travelจำนวน 25 คน โดยใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดี่ยวทดสอบหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความสามารถในการฟังการพูด แบบประเมินความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยหลักสูตรกิจกรรมชุมนุม  English for Local Travel เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยหลักสูตรกิจกรรมชุมนุม English for Local Travel  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า 1)  ผลการศึกษาข้อมูลที่จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมชุมนุม English for Local Travel ทำให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับใช้ในการพัฒนาหลักสูตรด้านเนื้อหา 2) ผลการสร้างหลักสูตรกิจกรรมชุมนุม English for Local Travel ทำให้ได้หลักสูตรที่มีองค์ประกอบ คือ ความเป็นมาและความสำคัญ หลักการ จุดมุ่งหมาย  สาระการเรียนรู้  โครงสร้างหลักสูตร แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล  บทบาทของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีความเหมาะสมของหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.84, S.D. = 0.38) และคู่มือประกอบหลักสูตรที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.47) 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า คะแนนการทดสอบความสามารถในการฟังหลังเรียน ตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น คิดเป็นร้อยละ 82.60 คะแนนทดสอบความสามารถในการพูดหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 79.80 สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนมีต่อการเรียนโดยหลักสูตรกิจกรรมชุมนุม English for Local Travel  ในภาพรวม นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.26, S.D. = 0.61)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กุศยา แสงเดช. (2554). บทเรียนสําเร็จรูปคู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญระดับ ประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
2. ชิสา โตเรือง. (2554). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เรื่อง การท่องเที่ยวในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
3. พิไล จิรไกรศิริ. (2562). คลังความรู้การท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : เอส.อาร์.
4. วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
5. ศุภราภรณ์ เลาหวิโรจน์. (2551). การพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เรื่อง พิธีกรรมแซงซะนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโพนจาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
6. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2558). ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานประจำปี 2557. กรุงเทพมหานคร : สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.
7. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2559). ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานประจำปี 2558. กรุงเทพมหานคร : สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.
8. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2560). ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานประจำปี 2558. กรุงเทพมหานคร : สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.
9. สมบัติ คชสิทธิ์. (2560). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนยุค THAILAND 4.0. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
10. สายยล แสนรังค์. (2551). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษารายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเรณูนครชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
11. สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2554). วิธีการสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 41. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
12. Rivers, W. M. , Mary, T. S. (1978). Teaching foreigner language skills. Chicago: The University of Chicago Press.
13. Taba, Hilda. (1962). Curriculum development : theory and practice. New York: Brace & World.