การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์เป็นฐาน ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับนักศึกษาครูปฐมวัย

Main Article Content

วราลี ถนอมชาติ
นภัส ศรีเจริญประมง

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์เป็นฐานตามแนวสะเต็มศึกษาก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการเรียนรู้ฯ และศึกษาลักษณะโปรแกรมการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์เป็นฐานตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับนักศึกษาครูปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 44 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง โปรแกรมการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์เป็นฐาน ประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้โปรแกรมการเรียนรู้ฯ 2) แผนการจัดกิจกรรม และ 3) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ฯ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การสร้างโปรแกรมการเรียนรู้ฯ 3) การทดลองใช้โปรแกรมการเรียนรู้ฯ และ 4) ปรับปรุงโปรแกรม การเรียนรู้ฯ ระยะเวลาเก็บรวบรวมข้อมูล 12 สัปดาห์ แบ่งเป็นการประเมินความรู้ความเข้าใจเรื่องสะเต็มศึกษาก่อนการทดลองใช้โปรแกรมการเรียนรู้ฯ 1 สัปดาห์ ทดลองใช้โปรแกรมการเรียนรู้ 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง 30 นาที การประเมินความรู้ความเข้าใจเรื่องสะเต็มศึกษา หลังทดลองใช้โปรแกรมการเรียนรู้ฯ 1 สัปดาห์ และวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย


          ผลการวิจัยปรากฏพบว่า 1. หลังการทดลองใช้โปรแกรมการเรียนรู้ฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ความเข้าใจเรื่องสะเต็มศึกษาสูงกว่าก่อนการทดลองใช้โปรแกรมการเรียนรู้ฯ และ 2) ลักษณะสำคัญของโปรแกรมการเรียนรู้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับ 1) ประสบการณ์ที่หลากหลาย 2) สะท้อนการเรียนรู้และอภิปราย 3) เกิดความคิดรวบยอด และ 4) การประยุกต์ใช้ความรู้ ซึ่งโปรแกรมการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์เป็นฐานตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับนักศึกษาครูปฐมวัยที่ปรับปรุงแล้วมีลักษณะสำคัญคือ 1) ประกอบด้วย 1) หลักการและแนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 4) เนื้อหา 5) ลักษณะกิจกรรม 6) เอกสารและสื่อ 7) ระยะเวลา และ 8) การประเมินผลการใช้โปรแกรมการเรียนรู้ฯ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เกสรี สุวรรณเรืองศรี. (2542). การพัฒนาโปรแกรมความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาการสอนระดับอนุบาล ในชุมชนไทยมุสลิมภาคใต้. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการศึกษาปฐมวัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2. มูลนิธิเพื่อแผ่นดิน. (2554). สมเด็จย่ากับการเลี้ยงดูพระโอรสและพระธิดา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.tamdee-for-king.net/index.php/news/news/td_frm_news view.php. 5 ธันวาคม 2561.
3. เยาวพา เดชะคุปต์. (2549). เชิดชูสมเด็จย่าแบบอย่างในการเลี้ยงลูก ยกย่องในหลวงครูของแผ่นดิน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://mgronline.com/qol/detail/9490000083634. 5 ธันวาคม 2561.
4. โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ฝ่ายประถม. (2542). ในหลวงของเรา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/viewFile/9368/8023. 5 ธันวาคม 2561.
5. วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2560). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. สะเต็มประเทศไทย. (2557). รู้จักสะเต็ม. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.stemedthailand.Org/?page_id=23. 5 ธันวาคม 2561.
7. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และที่เน้นปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
8. สุดาเรศ แจ่มเดชะศักดิ์. (2543). การพัฒนาโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาลโดยใช้แนวการสอนแบบผูกเป็นเรื่องราว. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการศึกษาปฐมวัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. ห้องเรียนแห่งอนาคต. (2557). 5 ข้อปัญหาของการจัดการศึกษาในระบบไทย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.charuaypontorranin.com/index.php?lay= show&ac=article&Id=538672107. 13 กุมภาพันธ์ 2562.
10. Doyle, E. I. and Ward, S. E. (2001). The process of community health education and promotion. Long Grove : Waveland Press.
11. Joyce and Weil. (1996). Model for teaching thinking. Journal of the Education Leadership 42(8) : 4-7 ; May.
12. Kolb, D. A. (1984). Experiential learning : Experience as the source of learning and development. New Tersev : Prentice Hall.