การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเขตอุทยานแห่งชาติจังหวัดระนอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารจัดการท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติจังหวัดระนอง 2) ศึกษาปัจจัยด้านการบริหารจัดการที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเขตอุทยานแห่งชาติจังหวัดระนอง และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเขตอุทยานแห่งชาติจังหวัดระนอง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงานและลูกจ้างสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในเขตจังหวัดระนอง 290 คน เครื่องมือสำหรับวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ในขั้นตอนของการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติจังหวัดระนอง โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 2) การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานแห่งชาติจังหวัดระนอง โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง 3) ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเขตอุทยานแห่งชาติ จังหวัดระนอง ไม่แตกต่างกันแต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อายุต่างกันความคิดเห็นการบริหารจัดการด้านการจัดองค์การ และด้านการบริหารบุคคล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเขตอุทยานแห่งชาติ จังหวัดระนอง ด้านการวางแผนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) การบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ ทั้งโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติ จังหวัดระนอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านการวางแผนที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 5) แนวทางการบริหารจัดการเพื่อการจัดท่องเที่ยวยั่งยืนในเขตอุทยานแห่งชาติ จังหวัดระนอง พบว่า ควรสร้างความตระหนักและองค์ความรู้ให้บุคลากร เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน ปฏิบัติงานตามแผน จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นระยะเพื่อให้สะดวกต่อการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล หัวหน้าต้องมีภาวะผู้นำ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ ในการบริหารงาน
Article Details
References
กรุงเทพฯ : สำนักอุทยานแห่งชาติกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช.
2. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552). นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
3. คณะอนุกรรมการจัดทำองค์ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในคณะกรรมการ บริหารจัดการความรู้
ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). องค์ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
4. คนึงภรณ์ วงเวียน. (2556). การพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษาเกาะเสม็ดจังหวัดระยอง.
ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
5. จันทร์พร ช่วงโชติ. (2558). นวัตกรรมการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนฐานชุมชน ในเขตอุทยานแห่งชาติภาค
ตะวันตกของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
6. จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ ฯ : บุ๊คพอยท์.
7. ฉัตรเฉลิม องอาจธานศาล. (2551). “การท่องเที่ยวเชิงแนวคิด : ผลิตซ้ำหรือ นวัตกรรมใหม่.” TAT tourism Journal,
ตุลาคม-ธันวาคม, หน้า 1-17.
8. เทิดชาย ช่วยบํารุง. (2557). การท่องเที่ยวเชิงเกษตรสุราษฎร์ธานี : การวิจัยฐานทรัพยากรเกษตรสู่การท่องเที่ยว
อย่างยั่งยืน. กรุงเทพ ฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
9. บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
10. พิจาริณี โล่ชัยยะกูล. (2554). “ความสำคัญของการบริหารจัดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน”. TAT Tourism Journal, (4), หน้า 12-25.
11. รุ่งอรุณ เถื่อนใหญ่. (2553). การศึกษากระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การ
บริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
12. ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, สุดา สุวรรณาภิรมย์, เชาวลิต ประภวานนท์, สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์. (2552).
องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.
13. เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์. (2560). ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารงานในองค์การบริหารส่วนตำบลใน
จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพ ฯ : คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
14. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.