การพัฒนากระเป๋าเสริมรถนั่งคนพิการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบกระเป๋าเสริมรถนั่งคนพิการที่คนพิการทางการเคลื่อนไหวต้องการ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนากระเป๋าเสริมรถนั่งคนพิการที่ตอบสนองความต้องการของคนพิการทางการเคลื่อนไหว 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจและทดสอบการยอมรับกระเป๋าเสริมรถนั่งคนพิการ โดยการเก็บข้อมูลจากคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่อายุ18ปีขึ้นไป ใช้รถวีลแชร์เดินทางไปยังที่ต่าง ๆ อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง มีความยากลำบากในการการใช้ชีวิตประจำวัน 5 ระดับ จาก 7 ระดับ จำนวน 20คน โดยการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงและการเก็บข้อมูลแบบลูกโซ่ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน และMann-Whitney U testผลการวิจัยพบว่า สิ่งของที่คนพิการจำเป็นต้องพกติดตัวเป็นประจำ คือ อุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ มีความต้องการกระเป๋าเสริมวีลแชร์ที่ตำแหน่งด้านหลังพนักพิงมากที่สุด วัสดุที่ใช้ทำควรเป็นผ้าไนลอนและใช้เวลโครเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อกระเป๋าเสริมวีลแชร์เพื่อคนพิการทุกด้านในระดับมากถึงมากที่สุด โดยในด้านกระเป๋ามีขนาดใหญ่มีช่องจัดระเบียบได้รับความพึงพอใจสูงสุด การทดสอบด้วยสถิติแมนวิทนีย์ ยูเทส (Mann-Whitney U-test) พบว่าไม่มีความแตกต่างในความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ทุกด้าน แต่กลุ่มที่ยอมรับมีความสนใจซื้อกระเป๋าเสริมรถวีลแชร์ทางออนไลน์ค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ยอมรับ
Article Details
References
2. Gaete-Reyes, M. (2015). Citizenship and the embodied practice of wheelchair use. Geoforum. 64: 351-361.
3. Khasnabis, C., Mines, K., Wold Health Organization. (2012). Wheelchair service training package: basic level: World Health Organization.
4. Long, D., Hillman, M. (2014). Introduction to Mobility and Wheelchair Assessment Clinical Engineering (pp. 323-329): Elsevier.
5. Miles, M. B., Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook: Sage Publications, Inc.
6. Srichuae, S., Nitivattananon, V., Perera, R. (2016). Aging society in Bangkok and the factors affecting mobility of elderly in urban public spaces and transportation facilities. Iatss Research. 40(1): 26-34.
7. Thoren, M. (1996). Systems approach to clothing for disabled users. Why is it difficult for disabled users to find suitable clothing. Applied ergonomics. 27(6): 389-396.
8. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2019). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. Retrieved from https://www.m-society.go.th/article_attach/17199.pdf
9. จีระนันท์ ระพิพงษ์, อภิชนา โฆวินทะ. (2558). การสำรวจทางลาดและห้องส้วมสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุในเขตถนนคนเดินจังหวัดเชียงใหม่. Journal of Thai Rehabilitation Medicine. 25(3): 102-108.
10. จำเนียร จงตระกูล. (2561). ปัญหาการกำหนดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ. Journal of Business Administration and Social Sciences Ramkhamhaeng University. 1(2): 1-21.
11. ธีรวุฒิ บุญยศักดิ์เสรี, จรัญญา พหลเทพ. (2558). แนวทางการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพพื้นที่ส่วนกลางของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรเพื่อตอบสนองการใช้งานของคนพิการที่เป็นไปตามหลักการ Universal Design. Art and Architecture Journal Naresuan University. 6(2): 35-56.
12. ภูริน หล้าเตจา, สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย. (2554). สถาปัตยกรรมมนุษย์ล้อ Architecture for Wheelchair Users. Journal of Architectural/Planning Research and Studies. 8(1): 89-96.
13. วิชุพรรณ ทินนบุตรา. (2559). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการที่ ใช้รถเข็นในเขตกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล. PAYAP UNIVERSITY JOURNAL. 26(1): 207-232.
14. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2555). คู่มือมาตรฐานกลางประเมินความสามารถตามความพิการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.