กลยุทธ์ธุรกิจค้าปลีกในยุคประเทศไทย 4.0

Main Article Content

จิรวุฒิ หลอมประโคน
อิสราภรณ์ ลาดละคร
เหมือนจิต จิตสุนทรชัยกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและกลยุทธ์ของธุรกิจค้าปลีก 4.0 พร้อมทั้งเสนอแนะกลยุทธ์ให้กับภาคธุรกิจค้าปลีกใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-30 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท  มีสถานภาพโสด มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 2 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการเลือกร้านค้า ชำระสินค้าด้วยเงินสด รับข้อมูลข่าวสารของร้านค้าผ่านคนรู้จัก ญาติ หรือ เพื่อน ต้องการให้ร้านค้าจัดการส่งเสริมการขายโดยมีคูปองลดราคา ผลการทดสอบสมมติฐานแสดงให้เห็นว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา ความสะดวกในการซื้อ การขายโดยใช้พนักงาน การส่งเสริมการขาย ลักษณะทางกายภาพ และปัจจัยด้านอื่น ๆ ได้แก่ ประสบการณ์ที่ได้รับขณะซื้อผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าและบริการในร้านค้าปลีก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2559). สถิติประชากรและบ้าน. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2561, สืบค้นจากเว็บไซต์: http://www.stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php.
2. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2561, จากเว็บไซต์: http://www.mdes.go.th/view/1/Digital%20Economy.
3. กรุเทพธุรกิจ. (2560). เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค 4.0 สืบค้นเมื่อสืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2563 , จากเว็บไซต์: https://www.bangkokbiznews. com/news/detail/760750
4. ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2561). การเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคตามร้านสะดวกซื้อในสถานบริการน้ำมัน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(2), 54-58
5. ฐิติมนต์ ธนกิติเอื้ออังกูร, ศรีสุดา จงสิทธิผล, เสรี วงษ์มณฑา และชุษณะ เตชคณา. (2559). กลยุทธ์การสร้างตราสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้ไทย. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ, 11(1), 105-117.
6. ทัศนา หงษ์มา. (2559). กลยุทธ์การเตรียมความพร้อมของธุรกิจค้าปลีกเพื่อรองรับการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558 โดยใช้เทคนิคเดลฟาย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(ฉบับพิเศษ), 16-25.
7. ธนัตถ์สัณห์ พงษ์วร. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาร้านค้าปลีก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวตะเข็บการค้าชายแดนประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 9(2 (พิเศษ), 146-156.
8. นารา กิตติเมธีกุล, ภาสประภา ตระกูลอินทร์ และนวลฉวี แสงชัย. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงโครงสร้างต่อความตั้งใจซื้อสินค้าในห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ในจังหวัดหนองคายของผู้บริโภคชาวลาว. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(2), 12-26.
9. ปณิธาน จันทองจีน. (2560). มุมมองของผู้ผลิต ที่มีต่อผู้ค้าปลีกสมัยใหมในช่องทางการจัดจำหน่าย การศึกษาบทบาทหน้าที่ของผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก เพื่อหาปัจจัยแห่งความสำเร็จทางธุรกิจ. วารสารบริหารธุรกิจ, 40(153), 1-23.
10. พิมพิกา พูลสวัสดิ์. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค กรณีศึกษา ร้านสะดวกซื้อท้องถิ่น 24 ชั่วโมงในจังหวัดภูเก็ต. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. ภูเก็ต.
11. วิทยา จารุพงศ์โสภณ, สุชาติ ไตรภพสกุล และวิเลศ ภูริวัชร. (2559). อิทธิพลของคุณภาพการบริการร้านค้าปลีกต่อความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้า : กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้าลักชัวรี่. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(4), 126-148.
12. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2561, จากเว็บไซต์: http://www.nesdb.go.th/main.php?filename=index.
13. สุชมาลี รามนัฎ และอริญชย์ ณ ระนอง. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคระหว่างร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) กับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade). วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 9 (1), 109-136.
14. สุภางค์ จันทวานิช. (2540). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 7.). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
15. หรรษมน เพ็งหมาน. (2559). จริยธรรมทางธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจค้าปลีก. วารสารวิชาการ Veridian, 9(1), 815-828.
16. อภิรดี วงศ์กิจรุ่งเรือง และณัฐพล อัสสะรัตน์. (2560). วิจิตรศิลป์: กลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ของร้านค้าปลีก.วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 39(151), 94-118.
17. อัญชลี นรินทร. (2559). การปรับตัวจากผลการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกแบบสมัยใหม่ ที่มีต่อธุรกิจค้าปลีกแบบเดิมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(2), 59-74.
18. Cochran, W. G. (1997). Sampling techniques (3rd ed). New York : John Wilay & Sons.
19. Lovelock, Christopher and Wirtz, Jochen., (2005). Service Marketing. World Scientific Publishing Co Inc., (USA)