แนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการควบคุมคุณภาพของสินค้าเกษตรแปรรูปวิสาหกิจชุมชนตำบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการควบคุมคุณภาพของสินค้าเกษตรแปรรูปวิสาหกิจชุมชนตำบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสำรวจสภาพปัญหาการดำเนินงานด้านการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปในปัจจุบัน (2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถให้กับกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปของวิสาหกิจชุมชนตำบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรางานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักโดยวิธีการเลือกตัวอย่างเจาะจงจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้นำชุมชน และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนตำบลคลองเขื่อน
ผลการศึกษาพบว่าสภาพการดำเนินงานด้านการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปของวิสาหกิจตำบลคลองเขื่อน ส่วนใหญ่ผู้ผลิตอาหารสินค้าเกษตรแปรรูปมีลักษณะไม่เข้าข่ายโรงงาน ดำเนินการผลิตอาหารให้ความใส่ใจในเรื่องการคัดสรร และความสะอาดในการผลิตสินค้าแต่ยังขาดการความรู้ความเข้าใจ ขาดแรงจูงใจ และงบประมาณในการพัฒนาไปสู่หลักเกณฑ์มาตรฐานการผลิตขั้นต้น ได้มีเตรียมความพร้อมในการพัฒนาขีดความสามารถโดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการตามหลักเกณฑ์มาตรฐานการผลิตขั้นต้น ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาความรู้ของผู้ผลิตอาหารคะแนนหลังเข้ารับการอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลคลองเขื่อน โดยการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การศึกษาดูงานหน่วยงานต้นแบบ การจัดทำคู่มือชุดความรู้ การให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในด้านปรับปรุงการออกแบบอาคารการผลิตให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์มาตรฐานการผลิตขั้นต้น
Article Details
References
2.ณัฐพันธ์ ปัญญาโรจน์, กนกรัตน์ ดวงพิกุล และธันทิพย์ ศิริพรอัครชัย. (2562). การพัฒนาแนวทางในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนเข้าสู่มาตรฐานการผลิตขั้นต้น กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนน่านมอลต์. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา. 7(1): 107-116.
3. ณัฐธิดา มณีเรือง. (2562). การพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจการรับรองมาตรฐาน Primary GMP สำหรับผู้ประกอบการ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสื่อนฤมิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
4. นิธิดา พระยาลอ และลำปาง แม่นมาตย์ . (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์อาหารในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคที่ผลิตในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 3(1): 38.
5. วรนุช กุอุทา และคณะ. (2561). แนวทางส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตภาคตะวันออกเฉียงหรือตอนล่าง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 15(2): 499-511.
6. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2556). คู่มือการขออนุญาตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (Primary GMP). กรุงเทพ: กระทรวงสาธารณสุข.
7. สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2554). รายงานข้อมูลวิสาหกิจชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา ปี 2554. ฉะเชิงเทรา: สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา.
8. อาริยา บุญจันทร์, สมโภช รติโอฬาร และทิพย์ซรร ปริญญาศิริ. (2559). การพัฒนาความพร้อมของสถานที่ผลิตอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันทีในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการทีดีในการผลิตที่ใช้บังคับเป็นกฎหมายในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 6(1): 91-92
9. อัจฉรา มลิวงศ์ และ ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. (2554). แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน นวดแผนไทยบ้านแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. เอกสารการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554.