รูปแบบการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2

Main Article Content

เอกวัสส์ อุษณีษ์พันธุ์
จตุพันธ์ รุจิรานุกูล
อดิพงษ์ สุขนาค
กรรณิกา ตรีบำเพ็ญ
วรัญภัสสร์ ศรีวฤทธิเวคิน
จุรีพร รักสบาย
ชิตวีร์ มองเพชร
รัษฎากร อัครจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 และตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Design) โดยระยะแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 และตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันรูปแบบการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้คือ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันระดับเดียว (Single level CFA) ระยะที่สองเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล จากข้าราชการและบุคลากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 จำนวน 11 คน โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus  Group) ผลการวิจัยพบว่า


  1. รูปแบบการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2
    มี 6 องค์ประกอบคือ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักการมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ 6) หลักความคุ้มค่า ผลการตรวจสอบรูปแบบการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ ค่า x2 = 3.028, df = 3, p = .387, x2/df = 1.009, RMSEA = .013, CFI = 1.000, TLI = 1.000 และ SRMR = .073

  2. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 มีรูปแบบแนวทางการดำเนินงานในทางปฏิบัติจำนวน 30 รูปแบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กมลวรรณ จิ๋วน๊อต. (2557). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
2. กุลวัชร หงษ์คู. (2553). ธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลนครสมุทรสาคร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการเมืองและการเลือกตั้ง.
3. จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ และ พงษ์เสถียร เหลืองอลงกต. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการบริหารงานตาม หลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. 5(1), 126–156.
4.พระสกล ฐานะมฺโม. (อินทร์คล้าย). (2556). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
5. ไพรัตน์ วงษ์นาม. (2547). การวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม LISREL. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
6. วีระยุทธ พรพจน์ธรมาส. (2557). องค์ประกอบของธรรมาภิบาลในโรงเรียน. วารสารนักบริหาร. 34 (มกราคม-มิถุนายน): 86.
7. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2546). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542. เข้าถึงได้จาก http://www.ocsc.go.th/GoodGovernment/GGH.pdf
8. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). (2555). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
9. เสน่ห์ จุ้ยโต. (2557). มิติใหม่การบริหารธรรมาภิบาลขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
10. Blumel, Christina M. (2000). Foreign Aid, Donor Coordination and the Pursuit of Good Governance (Kenya). Maryland: University of Maryland.
11. Hair, J.F. Jr. , Anderson, R.E., Tatham, R.L., & Black, W.C. (1998). Multivariate Data Analysis, (5th Edition). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
12. Kimmet, Philip. (2005). The Politics of Good Governance in the Asian 4. Griffith: Master Degree, Griffith
University.
13. Niamh. ฺB. (2011). Applying Principles of Good Governance in a School Boardcontext. Ed.D. Dissertation, University College Dublin.
14. Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion–referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2: 49–60.
15. Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (1996). A beginner’s guide to structural equation modeling. Mahwah, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
16. Steven, A. (2012). Governance and School Boards in Non-State Schools in Australia. Ed.D. Dissertation, Griffith University.