การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนก่อนและหลังเรียน ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านคลองครก จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือได้แก่ 1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน จำนวน 7 เรื่อง ดังนี้ เล่มที่ 1 นิทานพื้นบ้านของจังหวัดจันทบุรี เรื่อง พระนางกาไว เล่มที่ 2 นิทานคติธรรม เรื่อง พญาช้างผู้เสียสละ เล่มที่ 3 นิทานทั่วไป เรื่อง มาเหนือเมฆ เล่มที่ 4 วันโลกแตก เล่มที่ 5 เรื่อง ปากพาซวย เล่มที่ 6 เรื่อง แค่พริบตาเดียว และ เล่มที่ 7 เรื่อง ถ่ายทอดสด 2) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบวัดทักษะการอ่านจับใจความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบที
ผลวิจัยพบว่า 1) หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 80.05/83.56 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความ ของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่าการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน มีส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความให้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้นักเรียนมีกระบวนการในการลำดับเรื่องราวได้อย่างเป็นระบบ
Article Details
References
2. กรมวิชาการ. (2552). การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 - 2561). กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
3. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
4. จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ. (2557). ภาษากับการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ : พี.เพรส.
5. ชัยยงค์ พรมหมวงศ์. (2556). “การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน,” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1) : 19 - 54.
ุ6. ถวัลย์ มาศจรัส และพรพรต เจนสุวรรณ์. (2547). นวัตกรรมการศึกษา. (ชุดเอกสารประกอบการเรียนการสอน). กรุงเทพมหานคร : ธารอักษร.
7. ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคลองครก เป็นผู้ให้สัมภาษณ์. (15 กรกฎาคม 2562). ที่โรงเรียนบ้านคลองครก จังหวัดจันทบุรี.
9. นัฐพร ไพยะเสน. (2558). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง สระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). สกลนคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
10. นันทนิจ มีศิลป์ และพรสวรรค์ ศิริกัญจนาภรณ์. (2555). “การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน (เล่มเล็ก) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องประเพณี 12 เดือนของชาวอีสาน ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ้านกุดแก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2,” วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 9(27) : 75 - 83.
11. นิตยา เดวิเลาะ. (2551). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู่ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดมาตราตัวสะกดไทย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). ฉะเชิงเทรา : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
12. ปรีชา บํารุงภักดี. (2548). การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). เลย : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
13. พรรณี เศวตมาลย์. (2543). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษด้วยการสอนแบบ KWL Plus กับการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
14. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
15. มลิวัลย์ กรองทิพย์. (2556). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การสอนภาษาไทย). สกลนคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
16. รัชนี ศรีไพรวรรณ และรังษิมา สุริยารังสรรค์. (2555). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การสอนภาษาไทย). นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
17. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (2562). แผนการพัฒนาการศึกษาประจำปีงบประมาณ 2562 - 2563. จันทบุรี : สำนักงานฯ.
18. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551 ก). แนวทางบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
19.สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551 ข). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
20. โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล. (2558). ภาษาไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
21. อนงพันธุ์ ใบสุขันธ์. (2551). การใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนชั้นอนุบาล. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (ประถมศึกษา). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
22. Dewey, J. (1969). Philosophy, Education, and Reflective Thinking. In Thomas O.Buford Toward a Philosophy of Education. New York : Holt, Rinehart and Winston.
23. Green. John M. and Oxford, Rebecca. (1995). A closer look at learning strategies, proficiency, and gender. TESOL Quartely 29/2 (Summer): 261-297.