ทัศนคติของประชาชนต่อแนวทางการแก้ไขฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อแนวทางการแก้ไขปัญหา PM2.5 กรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของประชาชนในการแก้ไขปัญหา PM2.5 กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลในพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 10 เขต ด้วยแบบสอบถามทัศนคติของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และสุ่มตัวอย่างแบบโควตา และสุ่มตัวอย่างประชาชนแบบสะดวก ได้แก่ เขตพญาไท จตุจักร บางซื่อ ราชเทวี ห้วยขวาง บางกะปิ พระโขนง สะพานสูง ลาดกระบัง และหนองจอก จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติมาใช้การวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจต่อแนวทางการแก้ไขปัญหา PM2.5 อยู่ในระดับมาก
( = 0.76) ทัศนคติของประชาชนต่อแนวทางแก้ไขปัญหา PM2.5 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52) การมีส่วนร่วมประชาชนต่อแนวทางแก้ไขปัญหา PM2.5 อยู่ในระดับมาก ( = 3.58) และความคิดเห็นของประชาชนต่อผลกระทบในการป้องกัน PM2.5 อยู่ในระดับมาก ( = 0.84) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อแนวทางในการแก้ไขปัญหา PM2.5 ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกันจะมีการมีส่วนร่วมต่อแนวทางแก้ไขปัญหา PM2.5 แตกต่างกัน ในขณะประชาชนที่มีอายุที่แตกต่างกันจะมีความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมต่อแนวทางแก้ไข PM2.5 ที่แตกต่างกัน ในส่วนระดับการศึกษา และอาชีพของประชาชนที่แตกต่างกันจะมีทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมต่อแนวทางแก้ไขปัญหา PM2.5 ที่แตกต่างกัน ผลการทดสอบความสัมพันธ์ทางสถิติ พบว่า ความรู้ความเข้าใจของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชน และความคิดเห็นของประชาชนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหา PM2.5 จากทัศนคติของประชาชน ได้แก่ 1.) การประชาสัมพันธ์หรือการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ PM2.5 2.) ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา สาเหตุ และผลกระทบ 3.) การมีส่วนร่วมของประชาชน ตามลำดับ
Article Details
References
2. จิราภรณ์ หลาบคำ จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา และ ธนาพร ทองสิม. (2017). พฤติกรรมการป้องกันฝุ่นหินของพนักงานโรงโม่หินในอำเภอน้ำยืนจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 19 (ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน) : 71 – 83.
3. ชฎาภรณ์ นาประดิษฐ และ วิษณุ อรรถวานิช. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศไทย กรณีศึกษา ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5). วารสารการศึกษาพุทธศาสนาและการวิจัย. 6 (ฉบับที่ 2 กรกฏาคม - ธันวาคม) : 252 – 264.
4. ณภัทร พงษ์เทอดศักดิ์ พัชรา ก้อยชูสกุล และ พิรภานุวัตณ์ ชื่นวงศ์. (2558). ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมในการป้องกันตนเองในภาวะหมอกควันของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 8 (ฉบับที่ 17 พฤษภาคม - สิงหาคม) : 140 – 147.
5. บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล พยงค์ วณิเกียรติ อัมพร กรอบทอง และ กมล ไชยสิทธิ์. (2563). ผลต่อสุขภาพของฝุ่นละอองในอากาศขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนกลไกก่อให้เกิดโรค และการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 18 (ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน) : 187 – 202.
6. ภาณุวัฒน์ หาญยุทธ และ อรนันท์ กลันทปุระ. (2564). ความคิดเห็นของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองของรัฐ. วารสารร้อยแก่นสารอคาเดมี่. 6 (ฉบับที่ 1 มกราคม) : 1 – 9.
7. ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2562). ประกาศจำนวนประชากร ปี 2542 - 2561. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : file:///C:/Users/acer/Desktop/THESIS/%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%20%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3.pdf
8. วีระศักดิ์ จรบุรมย์ กวี ไชยศิริ และ คงศักดิ์ บุญยะประณัย. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. ในการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ "สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน" ครั้งที่ 2. วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. หน้า 12 – 20.
9. ศศิธร มะโนมั่น สุธาวัลย์ พงศ์พิริยะจิต ปลื้มกมล ชาวนาหุบ ปฏิภาณ สีสุก ภาสกร มีมูลทอง กุลสตรี แย้มมา วัชรกร โพสกุลและ กิตติพงษ์ ภู่พัฒน์วิบูลย์. (2562). ระดับความรู้ และปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม. หน้า 903 – 911.
10. สุวิมล ติรกานันท์. (2556). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 11 ปรับปรุงใหม่ . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. De Pretto, L., Acreman, S., Ashfold, M. J., Mohankumar, S. K., & Campos-Arceiz, A. (2015). The link between knowledge, attitudes and practices in relation to atmospheric haze pollution in Peninsular Malaysia. Journal PLoS ONE. 10(12).
12. Ebel, R. L. (1986). Essentials of educational measurement (4th ed.). Englewood Cliffs, N.J.: Englewood Cliffs, N.J. : Prentice-Hall.
13. Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal Educational psychological measurement. 30(3) : 607-610.
14. Majumder, S., Sihabut, T., & Saroar, M. G. (2019). Assessment of knowledge, attitude and practices against inhaled particulate matter among urban residents in Dhaka, Bangladesh. Journal of Health Research. 33(6) : 460 - 468.
15. Qian, X., Xu, G., Li, L., Shen, Y., He, T., Liang, Y., . . . Xu, J. (2016). Knowledge and perceptions of air pollution in Ningbo, China. Journal BMC public health. 16(1) : 1138.
16. Xiong, L., Li, J., Xia, T., Hu, X., Wang, Y., Sun, M., & Tang, M. (2018). Risk reduction behaviors regarding PM2. 5 exposure among outdoor exercisers in the Nanjing metropolitan area, China. Journal of Environmental Research and Public Health. 15(8) : 1728.