แนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ได้แก่ ความเป็นผู้รู้จักเหตุ ความเป็นผู้รู้ผล ความเป็นผู้รู้จักตน ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ความเป็นผู้รู้จักกาล ความเป็นผู้รู้จักชุมชน ความเป็นผู้รู้จักบุคคล และเสนอแนวทางพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.42) เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเป็นผู้รู้จักเหตุผล (= 3.57) รองลงมา คือ ด้านความเป็นผู้รู้จักชุมชน (= 3.53) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความเป็นผู้รู้จักตน (= 3.20 ) 2) แนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17 ตามความคิดของครูผู้สอน คือ ผู้บริหารควรดำเนินแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ผู้บริหารควรรับรู้ผลจากการกระทำของตนเอง ผู้บริหารควรใช้หลักธรรมในการบริหารงาน ผู้บริหารควรใช้จ่ายแบบพอประมาณและบริโภคปัจจัย 4 ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับเวลาราชการ ผู้บริหารควรเข้าถึงชุมชนให้ชุมชุนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ผู้บริหารควรให้รางวัลแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีความรับผิดชอบ
ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีความจำเป็นต้องพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น โดยใช้แนวทางที่กล่าวมาข้างต้น
Article Details
References
2. ฉลอง มาปรีดา.(2537). คุณธรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
3. ดนัย ไชยโยธา.(2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
4. นพพงษ์ อรัญเวศ.(2534). ก้าวสู่ผู้บริหารการศึกษา.กรุงเทพมหานคร: บริษัททบพิธการพิมพ์จำกัด,
5. นริสา จิตสมนึก. ( 2553 ). ผลการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองฯ .วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
6. นิยม ไผ่โสภา.(2543). พฤติกรรมการครองตน ครองคน และครองงาน ตามแนวพุทธธรรมของ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
วิทยานิพนธ์ ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
7. ปราการ บุตรโยจันโท.(2538). คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2538.
8. พระธนันต์ ชยานนฺโท. (2553). การบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
9. พระมหารุ่งโรจน์ ธมฺมฏฺเมธี (ศิริพันธ์). (2550). การศึกษาวิเคราะห์หลักภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
10. พระถนัด วฑฺฒโน (บุตรสวัสดิ์). (2551).ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก .
11. พระเทพเทวี(ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2537). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม.กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
12. พระสามารถ อานนฺโท. (2550). ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมกุฎราชวิทยาลัย.
13. วีระ อำพันสุข. พุทธธรรมกับการบริหารงานบุคคล.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา,2557.
14. วิภาดา ขุนทองจันทร์ ( 2555 ) สมรรถนะทางการบริหารสถานศึกษา. สืบค้นจาก http://www.gotoknow.org/posts/345489
15. วันทนา เมืองจันทร์. การปฏิรูปการศึกษา:คุณธรรมของผู้บริหารกับบทบาทในการประกันคุณภาพ.วารสารวิทยาจารย์.100,5(สิงหาคม 2554):21-25
16. พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). ผู้นำ. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มติชน
17. สงวน สุทธิเลิศอรุณ. การบริหารการศึกษา.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรบัณฑิต,2556.
18. อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร.22,5(กันยายน-ตุลาคม2534):9-18“ท่านจะเป็นผู้บังคับบัญชาที่ดีได้อย่างไร.”กรมบัญชีกลาง.
19. Chamrat Nongmark.”The Relation Between Teacher Job Satisfaction and Leadership of primarySchool Principals in Thailand. (1986): p.p.110-111.” Doctor’s Thesis.Missuri Columbia University.
20. Good,Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book Co.Inc.
21. Naron,Nagle. “Job Statisfaction of Minnesota of Community College Administrators: An Examination of the Dual Factor Theory. (1984). ” Dissertation Abstracts
International.I(January 1971):33-A
22. Knezevich,Stephen J. Adminstration of Public Education,4Th ed.New York:Harper and Row Publishers.
23. Davis , Adrian John Moral leadership : the leadership of the future. An exphoratory study in a Baha i-inspired faith school, accessed 14 July 2013. Available from : http://hdl.handle.net/2381/4149
24. Ozge Bahar Sunar, Erkan Tabancali (2012), http://eprints.ioe.ac.uk/id/eprin/7511https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S187704281201631X