การพัฒนาโมเดลการวัดสมรรถนะครูผู้ช่วยตามความต้องการจำเป็นในมุมมอง ของครูในภาคตะวันออก

Main Article Content

เจนวิทย์ วารีบ่อ
สวัสดิ์ชัย ศรีพนมธนากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจสภาพปัญหาและจัดโครงสร้างของโมเดลการวัดสมรรถนะครูผู้ช่วย และ (2) ประเมินคุณภาพของนักศึกษาครูตามโมเดลการวัดสมรรถนะครูผู้ช่วย กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูระดับชำนาญการขึ้นไปในภาคตะวันออก แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) มีจำนวน 40 คน ได้มาจากการเลือกแบบโควต้า 2) มีจำนวน 300 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และ 3) มีจำนวน 50 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง และแบบสอบถามสมรรถนะตามความต้องการจำเป็น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ


ผลการวิจัยพบว่า (1) สามารถจัดสมรรถนะครูผู้ช่วยได้ 4 องค์ประกอบหลัก 16 องค์ประกอบย่อย ซึ่งประกอบด้วย 1) จิตสำนึกของความเป็นครูมี 4 องค์ประกอบย่อย 2) องค์ความรู้เชิงวิชาการของครูมี 3 องค์ประกอบย่อย 3) ทักษะที่จำเป็นต่อวิชาชีพครูมี 6 องค์ประกอบย่อย และการมีมนุษยสัมพันธ์ในสังคมมี 3 องค์ประกอบย่อย และ (2) สมรรถนะที่ครูพี่เลี้ยงประเมินให้นักศึกษาครูมากที่สุด คือ การมีมนุษยสัมพันธ์ในสังคม รองลงมาก คือ ทักษะที่จำเป็นต่อวิชาชีพ จิตสำนึกของความเป็นครู และองค์ความรู้เชิงวิชาการของครู ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จินดารัตน์ โพธิ์นอก. ทักษะ. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.dailynews.co.th/article/223844. 2557.
2. ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. วารสาร มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(2): 1342-1354.
3. ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. ธาดา ราชกิจ. (2562). การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กร. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190523-human-relation-organization/. 2562.
5. บุญชม ศรีสะอาด. (2561). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2(1): 64-70.
6. บุษบง ธัยมาตร. (2560). การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในหน่วยงาน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6(2): 353-368.
7. บรรจง พลไชย. (2554). การสื่อสารเพื่อบริการสารสนเทศ. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 4(1): 63-70.
8. พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). ทักษะ 7C ของครู 4.0 PLC&Log book. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
10. พรพนา บัญฑิโต. (2558). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จังหวัดอ่างทอง. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
11. ยิ่งศักดิ์ จิตตะโคตร์. จิตสำนึกคือสภาพจิตที่มีสติสัมปชัญญะ. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow. org/posts/335967. 2553.
12. ราชบัณฑิตยสถาน. “วินัย” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://dictionary.orst.go.th/. 2563.
13. วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: หจก. ทิพยวิสุทธิ์.
14. วิชัย วงษ์ใหญ่. สี่เสาหลักของการศึกษา. [Online]. เข้าถึงได้จาก : www.curriculumandlearning.com/upload/ สี่เสาหลักทางการศึกษา_1400078221.pdf. 2557.
15. ศิริพร อาจปักษา. (2558). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของครูสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดราชบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8(2): 1251-1264.
16. สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัตร. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
17. สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
18. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
19. อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 : ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8(1): 1-17.
20. Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis. (7th ed.). NJ: Prentice Hall.