คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานข้าราชการและบุคลากร สังกัดสำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพชีวิตการทำงาน 2) ประสิทธิภาพในการทำงาน 3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำงานจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 4) หาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานคร สังกัด สำนักการคลัง ประชากรในการศึกษาคือข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานคร สังกัด สำนักการคลัง ที่ปฎิบัติงานในศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร จำนวน 480 คน เลือกตัวอย่างจำนวน 230 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา และนำข้อมูลที่รวบรวมได้ประมวลผลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละและค่าเฉลี่ย t-test การวิเคราะห์แบบ ANOVA ใช้ F-test , (One-way ANOVA) ,Correlation และ Multiple Regression Analysis
ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41 – 50 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุงาน 21 ปีขึ้นไป ตำแหน่งข้าราชการระดับปฏิบัติการ/ชำนาญการ และ รายได้ระหว่าง 15,001-25,000 บาท คุณภาพชีวิตของข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานครสังกัด สำนักการคลัง อยู่ในระดับความสำคัญมาก ประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานครสังกัด สำนักการคลัง พบว่าความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ตำแหน่งงานที่แตกต่างกันมีประสิทธิภาพในการทำงานที่แตกต่างกัน คุณภาพชีวิตการทำงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานอยู่ในระดับปานกลางทิศทางเดียวกัน คุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านค่าตอบแทนที่ยุติธรรมเพียงพอ ด้านความก้าวหน้าและมั่นคงในการทำงาน ด้านสังคมสัมพันธ์ และ ด้านความอิสระจากงาน มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานคร สังกัด สำนักการคลัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ผู้บังคับบัญชาควรกำหนดค่าตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานตามความรู้ความสามารถ และตำแหน่งงาน มอบหมายงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่สนับสนุนการพัฒนาตนเองของข้าราชการ มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานและกำกับให้มีการปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมแก้ปัญหาร่วมกับผู้บังคับบัญชาระดับสูง เสนอความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานใหม่ เพื่อเป็นการพัฒนาให้เกิดสมรรถนะในงานที่รับผิดชอบ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดในงานเพื่อให้สามารถทำงานทดแทนงานกันได้ จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทำให้เกิดความผูกพันซึ่งกันและกัน พัฒนาให้มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังให้เกิดความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว
Article Details
References
2. จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2557). องค์ความรู้ภาษา-วัฒนธรรม ความฉลาดทางสุขภาวะ. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dailynews.co.th/article/237689 (20 มิถุนายน 2563).
3. ชลดา อักษรศิริวิทยา. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายการเดินรถองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก กรุงเทพฯ.
4. ณัฏฐรินีย์ พิศวงษ์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพในการทำงาน พนักงานธนาคารออมสิน ภาค 1. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี.
5. ณิศาภัทร ม่วงคำ. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร : กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี. สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก กรุงเทพฯ.
6. ศิวัช โชติกิจนุสรณ์. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานหน้าร้าน บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทยจำกัด (มหาชน). การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กรุงเทพฯ.
7. สมพงศ์ รัตนนุพงศ์. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ข่าว SMM. สารนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ.
8. สุดารัตน์ สีล้ง. (2560). คุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการตํารวจ ตํารวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา. งานนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.
9. สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2559). การทำงานอย่างมีความสุข. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts/427432. (20 มิถุนายน 2563).
10. สุรีย์พร วิสุทธากรณ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี.
11. อุสุมา ศักดิ์ไพศาล. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี.
12. ศูนย์สารสนเทศ กรุงเทพมหานคร. (2562). อำนาจหน้าที่ สำนักการคลัง. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://www. bangkok.go.th/info. (20 มิถุนายน 2563).
13. อรุณี สุมโนมหาอุดม. (2555). คุณภาพชีวิต:ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพฯ.