การยอมรับเทคโนโลยี และคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการธนาคารออมสิน สาขาสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยี คุณภาพการบริการ และความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการธนาคารออมสิน สาขาสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี และเพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยี และคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการธนาคารออมสิน สาขาสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการธนาคารออมสิน สาขาสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 350 คน โดยใช้การสุ่มแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การยอมรับเทคโนโลยี และคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การยอมรับเทคโนโลยี ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ ด้านการรับรู้ว่าใช้งานง่าย และด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการธนาคารออมสิน สาขาสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี มีอำนาจการทำนายร้อยละ 35.00 และ คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ ด้านความไว้วางใจ และด้านความเป็นส่วนตัว อิทธิพลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการธนาคารออมสิน สาขาสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี มีอำนาจการทำนายร้อยละ 30.00 อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05
Article Details
References
2. กิตติ สิริพัลลภ. (2542) การสร้างคุณค่าให้ตรายี่ห้อ. วารสารบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(81), 33-44.
3. เกตุวดี สมบูรณ์ทวี, มนทกานติ์ ลิ้มสกุล และศิริพร อร่ามศรี. (2559). การยอมรับนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีตราสินค้า Apple ของกลุ่มคนรักตราสินค้า Apple (ไอโฟน ไอพอต ไอแพต). นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12 : วิจัยและนวัตกรมกับการพัฒนาประเทศ 2559, 1064-1074.
4. เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์ และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสนใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
5. จิตตาภา ยิ้มละมัย. (2558). คุณภาพการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสินเขตชลบุรี 3. สืบค้นวันที่ 23 สิงหาคม 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.ex-mba.buu.ac.th/ACADEMIC/Poster2015/poster144.pdf.
6. ชุลีรัตน์ ก้อนทอง. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของอู่ซ่อมรถยนต์ และศูนย์บริการ ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. (ปัญหาพิเศษปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาบูรพา).
7. เซดริค ทอง เอคอฟเฟย์. (2559). คุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการสายการบิน Thai Lion Air. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม).
8. ณัฐพัชร์ ล้อประดิษฐ์พงษ์. (2549). คู่มือสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า. กรุงเทพฯ:ประชุมทองพริ้นติ้ง กรุ๊ป.
9. ธนาคารออมสิน. (2563). ข้อมูลธนาคารออมสิน. สืบค้นวันที่ 23 สิงหาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.gsb.or.th/about-us/history-bank.aspx
10. นวรัตน์ ช่วยบุญชู, อรจันทร์ ศิริโชติ และเจษฎา นกน้อย. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 31-52.
11. วีรพงษ์ ถลิมจิรรัตน์. (2543). คุณภาพในงานบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
12. สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้ เทคโนโลยี. สืบค้นวันที่ 23 สิงหาคม 2563, เข้าถึงได้จาก http://journal.it.kmitl.ac.th.
13. หัทญา คงปรีพันธุ์. (2557). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าเปรียบเทียบระหว่างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. (การค้นคว้าปริญญาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
14. อมรรัตน์ พินัยกุล. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในตราสินค้า ในตราสินค้าไอศกรีม Swensen’s ของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
15. อัครเดช ปิ่นสุข และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณภาพ การบริการอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประสมการตลาดในมุมมองของลูกค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ (E-satisfaction) ในการจองตั๋วภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านระบบแอพพลิเคชั่น ของผู้ใช้บริการในจังหวัดกรงเทพมหานคร. ในการประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการ เอเชียอาคเนย์ 2559 ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงแรมริชมอนด์สไตลิส คอนเวนชั่น.
16. Barnes, S. J., & Vidgen, R. T. (2002). An integrative approach to the assessment of e-commerce quality. J. Electron. Commerce Res., 3(3), 114-127.
17. Chu, A.Z-C., & Chu, R.J-C. (2011). The intranet’s role in newcomer socialization in hotel industry in Taiwan-technology acceptance model analysis. The International Journal of Human Resource Management, 22(5), 1163-1179.
18. Crosby, P. B. (1979). Quality is Free. New York: McGraw – Hill.
19. Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw, P. R. (1989). User acceptanceof computer technology: A comparison of two theoretical models. Management Science, 35(8), 982–1003.
20. Jukka, O. (2010). E-Service Quality: A Conceptual Model. International Journal of Arts and Science, 3(7), 127 - 143.
21. Lee, G. G., & Lin, H. F. (2005). Customer perceptions of e-service quality in online shopping. International Journal of Retail & Distribution Management, 33(2), 161-176.
22. Oliver, R. (1999). Whence consumer loyalty?. The Journal of Marketing. 33-44.
23. Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., & Berry, L.L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing 49, (Fall), 41-50.
24. Pong, L. T., & Yee, T. P. (2001). An integrated model of service loyalty. In International Conferences Brussels Belgium, 1-26.
SIAMPHONE DOT COM COMPANY LIMITED. สมาร์ทโฟนคืออะไร? แท็บเล็ต ต่างกันอย่างไร?. สืบค้นวันที่ 23 สิงหาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://news.siamphone.com/news-14121.html
25. Wolfinbarger, M., & Gilly, M. C. (2003). eTailQ: dimensionalizing, measuring and predicting etail quality. Journal of retailing, 79(3), 183-198