การจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อเตรียมพร้อมก่อนออกฝึกสอน : กรณีศึกษาของนักศึกษาสาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Main Article Content

ขวัญดาว ปิ่นทองพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน และศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานแก่นักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา โดยการวิจัยครั้งนี้มี กลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 28 คนในปีการศึกษา2562ภาคเรียนที่ 2  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ประกอบด้วย1. มคอ.3 ของรายวิชานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สำหรับสาขาสังคมศึกษา 2. แผนการสอนรายวิชานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สำหรับสาขาสังคมศึกษา จำนวน 7 แผน จำนวน 21 ชั่วโมง 3.แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้โดยการใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลจากนักศึกษาสาขาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 4 เพื่อนำจากการสัมภาษณ์นำมารวบรวมวิเคราะห์โดยวิเคราะห์เนื้อหา  ด้านแบบสอบถามนำมาวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  แล้วนำค่าเฉลี่ยที่ได้แปลความหมาย


            ผลการวิจัยพบว่า  1) การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานสามารถจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาวิชาชีพครูสาขาสังคมศึกษา  ซึ่งจากการวิจัยนี้ผลของการทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา การจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบดังกล่าวนักศึกษาได้เกิดทักษะประสบการณ์องค์ความรู้ ได้แก่ทักษะการเรียนรู้ ด้านการตั้งถิ่นฐานนักศึกษาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในรายวิชาภูมิศาสตร์ ด้านเศรษฐกิจของชุมชนนำมาประยุกต์ใช้ในรายวิชาเศรษฐศาสตร์  ด้านทักษะการทำงานและทักษะการสื่อสารและทักษะชีวิตนักศึกษาใช้วิธีการสอบถาม สังเกตและสัมภาษณ์คนในชุมชนเพื่อนำมาออกแบบแผนการสอนที่สามารถใช้ในโรงเรียนได้  นักศึกษาสามารถนำความรู้มาสอบสอนหน้าชั้นเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองได้  2) ด้านความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน   ฐานแรกคือ  Find out what is right มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.506 นักศึกษาพึงพอใจมากที่สุด  ฐานที่สองคือฐาน Custom designมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.32 และฐานสุดท้ายคือ Creative presentation มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ   4.14 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.86

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กมลรัตน์ ฉิมพลีและคณะ.(2559). ห้องเรียนแห่งอนาคตเปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช.กรุงเทพมหานคร : เซนจ์พลัส.
2. กรมวิชาการ. (2547). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม.กรุงเทพมหานคร : กรมฯ.
3. กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
4. กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
5. คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้.(2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด, กรุงเทพมหานคร : คณะอนุกรรมการการปฏิรูปการเรียนรู้.
6. ชรา เล่าเรียนดี. (2556). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 10). นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
7. ทิศนา แขมมณี. (2554). รูปแบบการเรียนการสอน:ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. พิชาติ แก้วพวง.(2563). ศาสตร์การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
10. ศศิธร จันทมฤก .(2561). รูปแบบการจัดการศึกษาวไลยลงกรณ์สำหรับการศึกษายุค 4.0 : การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยวไลลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.ปีที่ 12 (ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม) : 1-2.
11. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.
12. วิจารณ์ พานิช. (2556).การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21.กรุงเทพมหานคร : ส.เจริญการพิมพ์
13. วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์.(2558).การสอนแบบสร้างสรรค์เป็น ฐาน Creativity-based Learning Model. [online] https://alc.wu.ac.th/backEnd/attach/attProgramProceed/2558/Proceeding%202558.pdf
14. อารี พันธ์มณี. (2552). กิจกรรมสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาแนะแนวและจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
15. Lewin, K. (1951) Field theory in social science: Selected theoretical papers. D. Cartwright (ed.). New York: Harper & Row.
16. Maynard W.Shelly (1975) Responding to Social Change, (Pensylvania : Dowden Hutchision &Press,