ความสามารถในการบริหารประสบการณ์ของสายการบินต้นทุนต่ำตามความคิดเห็นของผู้โดยสารที่ใช้บริการสนามบินที่ดำเนินงานโดยกรมท่าอากาศยานในประเทศไทย

Main Article Content

สมพงษ์ อัศวริยธิปัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่คาดหวังในความสามารถในการบริหารประสบการณ์ของสายการบินต้นทุนต่ำตามความคิดเห็นของผู้โดยสาร 2) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงในความสามารถในการบริหารประสบการณ์ของสายการบินต้นทุนต่ำตามความคิดเห็นของผู้โดยสาร และ 3) ประเมินความต้องการจำเป็นของความสามารถในการบริหารประสบการณ์ของสายการบินต้นทุนต่ำตามความคิดเห็นของผู้โดยสารที่ใช้บริการสนามบินที่ดำเนินงานโดยกรมท่าอากาศยานในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำจำนวน 400 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าความต้องการจำเป็นโดยวิธี PNIModified ผลการวิจัยพบว่า


1) สภาพที่คาดหวังความสามารถในการบริหารประสบการณ์ของสายการบินต้นทุนต่ำตามความคิดเห็นของผู้โดยสารโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) สภาพที่เป็นจริงในความสามารถในการบริหารประสบการณ์ของสายการบินต้นทุนต่ำโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) การประเมินความต้องการจำเป็นของความสามารถในการบริหารประสบการณ์ของสายการบินต้นทุนต่ำตามความคิดเห็นของผู้โดยสารที่ใช้บริการสนามบินที่ดำเนินงานโดยกรมท่าอากาศยานในประเทศไทย มีค่า PNIModified อยู่ระหว่าง 0.23 ถึง 0.15 และโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับ 0.20

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมทรัพย์สินทางปัญญา, กระทรวงพาณิชย์. โครงการพัฒนาผู้ประกอบการด้านทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://164.115.27.97/digital/items/show/8550. 2560.
2. กองเศรษฐกิจการบิน, ฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน. (2563). รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย.
3. กองเศรษฐกิจการบิน, ฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน.. รายงานส่วนแบ่งทางการตลาดสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://www.caat.or.th/th/archives/40830. 2564.
4. ณัฏฐา อุ่ยมานะชัยและพงศ์ปณต พัสระ. (2558). แนวทางการสร้างประสบการณ์เชิงอารมณ์สำหรับผู้บริโภค. วารสารนักบริหาร. 35 (มกราคม-มิถุนายน): 44-52.
5. ณัฐสรวง แสนสิริกุล และประกอบ ศิริประกอบ. (2559). ความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มาขอตรวจหนังสือเดินทาง(ขาออก) เพื่อขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 10 (พฤศจิกายน-เมษายน): 44-50.
6. ทักษญา สง่าโยธิน อัจจิมา ศุภจริยาวัตรและตติยะ ฉิมพาลี. (2562) แนวทางการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการของธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรีสำหรับธุรกิจที่พัก และธุรกิจร้านอาหาร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 13 (กันยายน-ธันวาคม): 140-154.
7. นันทสารี สุขโต. (2555). การตลาดระดับโลก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาส์น.
9. พัลลภา ปีติสันต์ ชัญญา เหลี่ยวรุ่งเรือง สมบุญ เกียรติรุ่งเรืองดี และวรวิทย์ ศัลยวุฒิ. (2555). การบริหารประสบการณ์ของลูกค้า. วารสาร For Quality. 18 (กันยายน): 94-96.
10. ยุทธ ไกยวรรณ์. (2552). ออกแบบเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.วรรณิกา จิตตินรากร. ส่องธุรกิจการบินปี 63. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://www.bangkokbiznews.com/new/detail/860089. 2562.
11. สมพงษ์ อัศวริยธิปัติ. (2563). การตลาดสายการบิน. ชลบุรี: บางแสนการพิมพ์.
12. สิริวัฒน์ มีแสงพราว และ ไพโรจน์ เกิดสมุทร. (2558). ความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มีต่อการให้บริการของสายการบินไทยสมายล์. วารสารวิชาการเซาธ์อิสท์บางกอก. 1 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 23-37.
13. สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
14. Kaufman, R. A. & English, F. W. (1979). Needs Assessment: Concept and Application. Englewood Cliffs, N.J.: Educational Technology Publisher.