ผลการเรียนรู้ผ่านระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัลของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

Main Article Content

ธันยวิช วิเชียรพันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการทดลองใช้ระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัล (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัลและ (3) ศึกษาความ    พึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัล  กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน  100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัล 4 ระบบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าทดสอบที


            ผลการศึกษา พบว่า (1) ประสิทธิภาพของระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัล เป็นระบบฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นเพื่อการเรียนรู้แบบออนไลน์ เปรียบเสมือนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงแหล่งสารสนเทศที่อยู่หลาย ๆ แหล่ง และการเชื่อมโยงนั้นต้องไม่ยุ่งยากสำหรับผู้เรียนและสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างกว้างขวาง  ระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัลจะประกอบด้วยผล 4 ระบบ คือ 1) ฐานข้อมูลสื่อการเรียนรู้ออนไลน์    2) ฐานข้อมูลสื่อ e-book  3) ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมเสมือนจริง 3 มิติ  4) ฐานข้อมูลวรรณกรรมเด็กและเยาวชนออนไลน์ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เสริมสร้างทักษะความคิดวิเคราะห์และพัฒนาทักษะความรู้   ทักษะในการประกอบอาชีพและเพิ่มทักษะการเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้การศึกษาของประเทศเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีประสิทธิภาพในภาพรวม ระดับมากที่สุด (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2011). ผลการประเมิน PISA 2011 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์: บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: แอดวานซ์พริ้นติ้งเซอร์วิส.
2. รุ่ง แก้วแดง. (2543). ปฏิวัติการศึกษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: มติชน.
3. ยืน ภู่วรวรรณ และสมชาย นําประเสริฐชัย. (2546). ไอซีทีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชัน.
4. ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4)¬. กรุงเทพมหานคร: วีริยาสาสน์น.
5. วิจารณ์ พาณิชย์. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายโรงพิมพ์บริษัท ตถาตาพับลิเคชั่นจำกัด.
6. เศรษฐชัย ชัยสนิท. (2550). เทคโนโลยีสารสนเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: วังอักษร.
7. สุคนธ์ทิพย์ สุภาจันทร์. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการสอนที่ใช้สื่อการสอนE-book และการสอนปกติ. วารสารสถาบันวิจัยญานสังวร,5(1),1-10. (ออนไลน์) https://www.mbu/yri/wp-content/uploads (สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562)
8. Druin, A. (2005). Children’s access and use of digital resources. Library Trends, 54(2), 173-177.
9. Gaines, Brian R. (2002). Implementing the learning web. Alberta, Canada: Knowledge Science Institute, University of Calgary.
10. Jayaprakash, A., & Venkatramana, R. (2006). Role of digital libraries in e-learning.DRTC Conference On ICT for Digital Learning Environment. Bangalore: DRTC.
11. Jochen, Prümper. (2010). ISONORM 9241/110-S: Evaluation of software based upon International Standard ISO 9241, Part 110. Berlin: HTW.
12. Johnson, Roger T, & Johnson, David W. (1986). Action research: Cooperative learning in the science classroom. Science and Children, 24, pp. 31-32.
13. OECD. (2009). Assessment Framework. OECD, Paris.
14. OECD. (2010). Learning for Jobs, OECD Reviews of Vocational Education and Training. OECD Publishing, Paris.