“วาทกรรม เด็กดี” ในแบบเรียนไทยและมาเลเซีย

Main Article Content

มาริษา หมัดหนิ
ตรีศิลป์ บุญขจร

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย  มี 2 วัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบวาทกรรม “เด็กดี” ในแบบเรียนชั้นประถมศึกษาของไทยกับมาเลเซีย และ 2) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบวาทกรรมและปฏิบัติการทางวาทกรรม “เด็กดี” ในบริบทสังคมและวัฒนธรรมของไทยกับมาเลเซีย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ตัวบทตามกรอบแนวคิดวาทกรรมเชิงวิเคราะห์วิพากษ์ของแฟร์คลาฟ ผ่านแบบเรียนไทยและมาเลเซียในรอบ 1 ทศวรรษ (ระหว่างพ.ศ. 2550 – 2559) มาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยเน้นการวิเคราะห์เอกสารผ่านมุมมองของตนเองและผู้อื่นที่มีต่อ “เด็กดี” รวม 39 เล่ม ผลการวิจัยพบว่า แบบเรียนของไทยกับมาเลเซียในแง่มุมของ วาทกรรม “เด็กดี” ลักษณะของแบบเรียนและบทบาทของเด็กดีตามที่ปรากฏในแบบเรียน มีทั้งลักษณะร่วมและลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ลักษณะร่วมกัน คือ ภาพของเด็กที่สามารถปฏิบัติตนได้ตามความคาดหวังของผู้ใหญ่ในสังคม บทบาทด้านการสั่งสอนเด็กการปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมือง บทบาทของแบบเรียนทางด้านการวิพากษ์วิจารณ์สังคม และลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือ การนำเสนอแก่นเรื่องที่คล้ายคลึงกัน คือ มีการนำเสนอภาพ ลักษณะเด็ก คือ การนำเสนอ ข้อมูลที่เกี่ยวกับลักษณะของความเป็นเด็กดี ผ่านการกระทำ พฤติกรรมต่าง ๆ ลักษณะนิสัยบางประการ พร้อมประเมินค่าและตัดสินว่าสิ่งนั้นดีหรือไม่ดีอย่างไร เพื่อให้ผู้อ่านปฏิบัติ ประพฤติตามสิ่งที่ถูกประเมินค่าว่าดีควรเอาเป็นแบบอย่างพฤติกรรมเหล่านั้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ และธีรนุช โชคสุวณิช. (2551). วัจนปฏิบัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2. วิสันต์ สุขวิสิทธิ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างอุดมการณ์กับภาษาในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2503 -2544: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. สรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์, หัทยา จันทรมังกร และ ศตนันต์ เปียงบุญทา. (2547). หนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กของไทยที่ได้รับรางวัล: การวิเคราะห์เชิงวรรณกรรมและวาทกรรม. รายงานการวิจัย คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
4. สรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์, หัทยา จันทรมังกร และ ศตนันต์ เปียงบุญทา.(2549). หนังสือสำหรับเด็กที่ได้รับรางวัล: การวิเคราะห์เชิงวาทกรรมและวรรณกรรม. ใน มองสังคมผ่านวาทกรรม. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ และ จันทิมา เอียมานนท์ (บรรณาธิการ). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 186-221.
5. สุภาษิตสอนหญิง. (2518). ใน ชีวิตและงานของสุนทรภู่. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: คลังวิทยา.
6. สุริชัย หวันแก้ว. (2550). คนชายขอบ: จากความคิดสู่ความจริง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7. อุมาวัลย์ ชีช้าง. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในเรื่องเล่าสำหรับเด็กในหนังสือวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ. 2523 – 2553. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย.
8. Fairclough Norman. (1995). Critical Discourse Analysis: The Critical Study of Language. London: Langman.