แนวทางการจัดการป่าไผ่ของชุมชนบ้านผาตูบที่ตั้งถิ่นฐานโดยรอบวนอุทยานถ้ำผาตูบ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

Main Article Content

ภก วุฒิสวัสดิ์
ธานินทร์ คงศิลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการป่าไผ่ของชุมชนบ้านผาตูบที่ตั้งถิ่นฐานโดยรอบวนอุทยานถ้ำผาตูบ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และเพื่อศึกษาการสร้างแนวทางการจัดการป่าไผ่ของชุมชนบ้านผาตูบที่ตั้งถิ่นฐานโดยรอบวนอุทยานถ้ำผาตูบ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาชุมชน เจ้าหน้าที่วนอุทยานถ้ำผาตูบ ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มผู้ใช้ไผ่ และผู้รู้  (Key Informants) รวม 13 คน โดยใช้การสังเกตการณ์ (Observation) สถานการณ์โดยรอบชุมชนบ้านผาตูบ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อหาแนวทางในการจัดการป่าไผ่อย่างเหมาะสมภายใต้บริบทชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม (A-I-C) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา


       ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การจัดการป่าไผ่ของชุมชนบ้านผาตูบที่ตั้งถิ่นฐานโดยรอบวนอุทยานถ้ำผาตูบ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน มีการจัดการป่าไผ่ในรูปของกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับไผ่ จำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มจักสาน กลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าไผ่ โดยได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากทางภาครัฐ ท้องถิ่นและองค์กรภาคส่วนต่าง ๆ มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการทำงานในแต่ละบทบาท ได้แก่ ประธานกลุ่ม กรรมการ รวมถึงสมาชิก ซึ่งแต่ละฝ่ายจะมีการทำงานตามหน้าที่ที่วางไว้ในโครงสร้างองค์กรของกลุ่มเพื่อให้ทำงานร่วมกันโดยสอดคล้องกับบริบทชุมชน และพบว่า มีการสร้างแนวทางการดำเนินงานผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ การบริหาร ที่ปรึกษา ผู้ปฏิบัติ โดยมีการดำเนินงานผ่านกิจกรรม ป้องกัน อนุรักษ์ ร่วมสงวนรักษา การประชาสัมพันธ์และหาแนวร่วมในการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม ดังนั้นการสร้างพันธมิตรการทำงานในรูปแบบการบริหารจัดการป่าไผ่ของชุมชนใกล้เคียงและส่งผ่านไปยังกลุ่มเยาวชนให้เกิดความต่อเนื่อง การจัดการป่าไผ่ของชุมชนบ้านผาตูบจะเกิดการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนนอกจากจะใช้กระบวนการของการมีส่วนร่วมแล้วยังต้องอาศัยองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้จึงต้องวางแผนแนวทางการจัดการให้สอดคล้องภายใต้บริบทของชุมชนเพื่อให้เกิดความสมดุลในมิติด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงวิถีวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมซึ่งจะเป็นการจัดการป่าไผ่ของชุมชนบ้านผาตูบให้เกิดแบบแผนมีรูปแบบเฉพาะความเหมาะสมแก่ชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมป่าไม้.(2563). สถิติพื้นที่ป่าไม้.ศูนย์สารสนเทศและสื่อสาร. กรุงเทพฯ.
2. คณะทำงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเตือนภัย.(2564). สารสนเทศเพื่อเตือนภัยไฟป่า. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อพัฒนาจังหวัด. สำนักงานจังหวัดแพร่.
3. จำเนียร บุญเข็มและปิยกร หวังมหาพร.(2563).รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการไฟป่าในพื้นที่อนุรักษ์เขตอุทยานแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่.วารสารศรีปทุมปริทรรศน์ ฉบับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 20 (1):92-104.
4. สายรุ้ง ดินโคกสูงและคณะ. (2561).รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์.13(2):213-221
5. สราวุธ สังข์แก้ว, อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ และกิตติศักดิ์ จินดาวงศ์.(2554).ไผ่ในเมืองไทย (Bamboo of Thailand). สำนักพิมพ์บ้านและสวน.กรุงเทพฯ.
6. เสวียน เปรมประสิทธิ์และคณะ. (2551).ศึกษานิเวศวิทยาของไผ่ข้าวหลาม (Cephalostachyum pergracile Munro) เพื่อการใช้ประโยชน์จากไผ่ข้าวหลามอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดน่าน. ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร.
7. เยาวลักษณ์ แก้วยอด.(2555). รายงานการวิจัยการศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปไม้ไผ่ในเขตปฏิรูปที่ดินตำบลถ้ำฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา. สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร.
8. International Bamboo and Rattan. (2020). INBAR. 2005. International Network for Bamboo and Rattan.[Online]. Access from :www.inbar.int. 2020.