ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ

Main Article Content

วิทมา ธรรมเจริญ
นิทัศนีย์ เจริญงาม
ญาดาภา โชติดิลก
นิตยา ทองหนูนุ้ย

บทคัดย่อ

 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้น เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ได้ตัวอย่างผู้สูงอายุที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 375 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ วิเคราะห์ไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 78.90 และเริ่มมีภาวะซึมเศร้า หรือเป็นโรคซึมเศร้า ร้อยละ 21.10 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ไคสแควร์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ อาชีพ และความเพียงพอของรายได้ ปัจจัยด้านสุขภาพและวิถีชีวิต ได้แก่ สุขภาพร่างกาย ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ และคุณภาพการนอนหลับ ส่วนด้านจิตใจและอารมณ์ ได้แก่ ความเครียด เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 แยกตามตำบล.(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.dop.go.th/th/know/1/238. 2562.
2. กรมสุขภาพจิต. (2559). แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). นนทบุรี: สำนักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต.
3. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความเครียด กรมสุขภาพจิต (SPST-20). (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://envocc.ddc.moph.go.th./contents/view/697. 2550.
4. กระทรวงสาธารณสุข. แบบรายงานการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2562. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://bie.moph.go.th/e-insreport/file_report/2019-02-12- 09-06-13-11.doc. 2562.
5. กาญจนา กิริยางาม. (2553). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยสูงอายุในแผนกอายุรกรรม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
6. กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2559). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 28). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา
7. จรรยา ฉิมหลวง. (2554). อาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. ณหทัย วงศ์ปการันย์. (2559). คู่มือการดูแลผู้สูงวัย: สูตรคลายซึมเศร้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่งเฮาส์.
9. ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. (2556). ภาวะซึมเศร้าการบำบัดและการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์จังหวัดเชียงใหม่.
10. ตะวันชัย จิรประมุข และวรัญ ตันชัยสวัสดิ์. (2540). ปัญหาคุณภาพการนอนหลับของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 42(3): 123-132.
11. เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ, อุมาพร อุดมทรัพยากุล, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง. (2554). ความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรสูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 56(2): 103-116.
12. นภา พวงรอด. (2558). การศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1): 63-74.
13. บุษราคัม จิตอารีย์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
14. ประนอม โอทกานนท์. (2554). ชีวิตที่สุขสมบูรณ์ของผู้สูงอายุไทย หลักการ งานวิจัย และบทเรียนจากประสบการณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
15. ปราณี หลำเบ็ญสะ. การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://edu.yru.ac.th/th/. 2559.
16. มาติกา รัตนะ. (2559). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
17. วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2554). ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
18. สมภพ เรืองตระกูล. (2556). ตำราจิตเวชศาสตร์ กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
19. สายพิณ ยอดกุล และจิตภินันท์ ศรีจักรโคตร. (2555). ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการพยาบาลและการดูและสุขภาพ. 30(3): 50-57.
20. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx. 2564.
21. สุทธานันท์ ชุนแจ่ม, โสภิณ แสงอ่อน และ ทัศนา ทวีคูณ. (2554). การสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในประเทศไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 17(3): 412-429.
22. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. การป่วย การตายด้วยโรคสำคัญ และสาเหตุ (จำนวนผู้ป่วยนอก จำแนกตามกลุ่มสาเหตุป่วย 21 โรค จากสถานบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2553-2562. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/05.aspx. 2562.
23. สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่น โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่ 1). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
24. อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, พีรพล ลือบุญธวัชชัย. (2553). การบำบัดรักษาทางจิตสังคมสำหรับโรคซึมเศร้า. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนาเพรสจำกัด
25. อาคม บุญเลิศ. (2559). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนเขตรับผิดชอบของสถานบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยม จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 31(1): 25-33.
26. อิทธิพล พลเยี่ยม, สุคนธา ศิริ, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ และดุสิต สุจิรารัตน์. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
27. Akiskal, H.S. (2005). Mood disorders: Historical introduction and conceptual overview. 8 th ed. Philadephai: Lippincot William&Wikins.
28. Annequin M., Weill A., Thomas F. and Chaix B. (2015). Environmental and individual characteristics associated with depressive disorders and mental health care use. Annals of epidemiology. 25(8): 605-612.
29. Blazer, D., Burchet, B., Service, C. and George, L.K. (1991). The association of age and Depression among the elderly: An epidemiologic exploration. Journal of Gerontology, 46(6), 210-215.
30. Koening, H.G. (1998). Depression in hospitalized older patients with cognitive heart failure. General Hospital psychiatry, 20(1), 29-43.
31. Lehtimen, V., Joukamaa, M. (1994). Epidemiology of depression. Acta Psychiatr Scand, 89(377, Suppl), 7-10.
32. Li, H.C., Zheng, L. L., Teng, J. R., and Shen, M.Y. (2003). Study on anxiety and depressive disorder of impatients in general hospital. Zhejiang Da Xue Bao Yi Ban. 32(4): 342-348.
33. Martin, G.A., Sler, S.R., Picarl., A.P. and Casanovas, C.P. (2003). Anxiety and depression levels in medical inpatients and their relation to the severity of illness. Medical Clinics (Barc). 120(10): 370.
34. Morin, C.M. (1993). Insomnia: Psychological assessment and management. New York: Guiford Press.
35. WHO. Depression and Other Common Mental Disorders. (Online). Available: https://www.who.int/mental_health/management/depression/prevalence_global_health_estimates/en/. 2017.
36. WHO. (1989). Health in the Elderly. Geneva: World Health Organization.