การวิเคราะห์โซ่คุณค่าของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์โซ่คุณค่าของการปลูกสับปะรดในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง และ (2) วิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของโซ่คุณค่าของการปลูกสับปะรด การวิจัยครั้งนี้กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเสนอแนะที่เห็นพ้องกัน (Snowball Sampling) เพื่อเลือกตัวอย่างที่เจาะจง จำนวน 5 คนจาก 5 ครัวเรือน และใช้การวิเคราะห์โซ่คุณค่า (Value Chain Analysis) ร่วมกับการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ในการเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของโซ่คุณค่าของการปลูกสับปะรด
ผลการวิจัยพบว่ากิจกรรมในโซ่คุณค่าของการปลูกสับปะรดเริ่มจากการที่เกษตรกรจัดหาวัตถุดิบเพื่อนำมาปลูกและดูแลรักษาจนไปถึงการส่งมอบผลผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภค อย่างไรก็ตามพบปัญหาและอุปสรรคใน 4 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านการตลาดและการขาย (2) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี (3) ด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ (4) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้นจึงเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของโซ่คุณค่า ได้แก่ ภาคเกษตรกร : เสนอแนวทางการทำการทำเกษตรแบบอัจฉริยะ การรวมกลุ่มเพิ่มอำนาจการต่อรอง การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า เกษตรพันธสัญญา หาตลาดใหม่ การคัดแยกขนาดผลผลิตสับปะรดเพื่อจำหน่ายตามเกณฑ์ของตลาด การทำเกษตรอินทรีย์ และภาครัฐ : เสนอแนวทางให้ภาครัฐทำการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและบริการความรู้เกี่ยวกับการปลูกสับปะรดให้แก่เกษตรกร จัดอบรมความรู้ให้เกษตรกรเพื่อส่งเสริมการผลิตและการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตการเกษตร
Article Details
References
2. มนตรี กล้าขาย. [ออนไลน์]. สับปะรดตราดสีทอง พืชทองของคนเมืองตราด. เข้าถึงได้จาก http://www.edoae.doae.go.th/article_281011.pdf. 2554
3. วุฒิพล จันทร์สระคู, ศักดิ์ชัย อาษาวัง, ขนิษฐ์ หว่านณรงค์, ธนกฤต โยธาทูล, และประยูร จันทองอ่อน. (2558). การพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก. วารสารวิชาการเกษตร. ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม): หน้า 114-124.
4. สยามรัฐออนไลน์. [ออนไลน์]. ชาวไร่สับปะรด หนุนซื้อขายระบบเกษตรพันธสัญญา ชี้กู้วิกฤติปัญหาราคาตกต่ำผลผลิตล้น ตลาด. เข้าถึงได้จาก https://siamrath.co.th/n/84217. 2562.
5. สันติ ช่างเจรจา, รุ่งนภา ช่างเจรจา, นิอร โฉมศรี, ยุทธนา เขาสุเมรุ และชิติ ศรีตนทิพย์. [ออนไลน์]. กระบวนการเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด. เข้าถึงได้จาก: https://www.rmutl.ac.th/news/13071-2020-02-19. 2562.
6. สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. [ออนไลน์]. จังหวัดระยองฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับเกษตรกรชาวไร่สับปะรด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่มาจากสับปะรด. เข้าถึงได้จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG190516102436358. 2562.
7. สุมิตร สุวรรณ. [ออนไลน์]. การกำหนดยุทธศาสตร์. เข้าถึงได้จาก:https://ebook.lib.ku.ac.th/ebook27/ebook/2014RG0091/index.html#p=1. 2554.
8. สุรีรัตน์ ศรีทะแก้ว. (2556). การวิเคราะห์โซ่อุปทานและความได้เปรียบทางการแข่งขันด้านการส่งออกของผลไม้สดไทยไปยังตลาดสหภาพเมียนมาร์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2(กรกฎาคม-ธันวาคม): หน้า 36-60.
9. Porter, M. E. (1979). Decision Support Tools: Porter's Value Chain. Cambridge University: Institute for Manufacturing (IfM).