รูปแบบการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนในยุคศตวรรษที่ 21 บริเวณพื้นที่ชายแดน จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

เจนจบ สุขแสงประสิทธิ์
ฬิฏา สมบูรณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนในยุคศตวรรษที่ 21 บริเวณพื้นที่ชายแดน จังหวัดจันทบุรี 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3) ประเมินรูปแบบการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียน ครูและผู้ปกครองจากโรงเรียนบริเวณพื้นที่ชายแดน จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถาม แบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเกณฑ์หาประสิทธิภาพ E1/E2 สรุปผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนบริเวณพื้นที่ชายแดน จังหวัดจันทบุรี รวมทุกด้านทุกรายข้อ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.03 S.D.=0.12) รายข้อ คือ สามารถใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น กลูเกิ้ล ได้ (=5.00 S.D.=0.00) ส่วนข้อที่มีความสามารถน้อยสุด คือ มีการตรวจสอบถึงความแตกต่างของสื่อ (gif.latex?\bar{x}=2.77 S.D.=0.60) 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนด้วยตนเองทางเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนตามกระบวนการเรียนรู้ ได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 = 81.81/82.28 ซึ่งได้ตามเกณฑ์ และ 3) ระดับผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ตอบแบบสอบถามด้านทักษะต่าง ๆ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (gif.latex?\bar{x}=4.65 S.D.=0.57) คือ ด้านทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง (=4.65 S.D.=0.45) เรื่อง ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (gif.latex?\bar{x}=4.87 S.D.=0.34) ด้านทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยี (gif.latex?\bar{x}=4.53 S.D.=0.53) เรื่อง ใช้เทคโนโลยีแบ่งปันข้อมูลต่าง ๆ กับเพื่อนได้ (gif.latex?\bar{x}=4.82 S.D.=0.38) ด้านทักษะความรู้ด้านสารสนเทศ (gif.latex?\bar{x}=4.40 S.D.=0.66) เรื่อง การเลือกแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ (gif.latex?\bar{x}=4.55 S.D.=0.54) และด้านทักษะความรู้เกี่ยวกับสื่อ (gif.latex?\bar{x}=4.31 S.D.=0.62) เรื่อง ความเข้าใจและนำเสนอสื่อในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างทางวัฒนธรรม (gif.latex?\bar{x}=4.51 S.D.=0.54)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
2. โกเมณ ดกโบราณ. (2560). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับบุคลากรสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
3. คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 -2564. สำนักนายกรัฐมนตรีคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
4. ชเนตตี สยนานนท์. (2555). พฤติกรรมและปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
5. ชัยภัทร วทัญญู. (2560). การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี เรื่องคอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ก้าวทันการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการสอนแนะ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
6. นิภานันท์ จูฑะวนิช. (2556). การรู้สารสนเทศเพื่อพัฒนาทักษะภาษาไทยของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม). ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
7. บุษบา เสนีย์. (2563). รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
8. พชรมน ชุดเจือจีน. (2558). ศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดแจงร้อน กรุงเทพมหานคร. ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สารสนเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
9. ภาสกร เรืองรอง และคณะ. (2557). “เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21”. วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ ประจำเดือนพฤษภาคม 2557.
10. วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์.
11. สุจิตรา โกวิทชัย. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
12. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2563 -2565. ม.ป.พ.
13. อรอุษา ปุณยบูรณะ. (2558). การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนสาธิต. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
14. อัมพร พะนิจรัมย์. (2558). การเปรียบเทียบทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการสืบค้นข้อมูล ทางอินเทอร์เน็ต เรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และความสนใจในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับรูปแบบการเรียนการสอนทางตรงกับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.