การศึกษาและทดลองฝังพลอยดำตกเกรดในดินเผาเซรามิกเพื่อเป็นวัสดุทางเลือกในงานเครื่องประดับ

Main Article Content

ภัทรา ศรีสุโข
นฤมล เลิศคำฟู
กิตติรัตน์ รุ่งรัตนาอุบล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดลองการนำพลอยตกเกรดฝังในดินเผาเซรามิก 2 ชนิด คือ ดินพอร์ชเลน(PFA) และดินวิเทรียสไชน่า(VCB)เกรดสูงพิเศษ และเพื่อเปรียบเทียบดินเผาเซรามิกระหว่างดินพอร์ชเลนและดินวิเทรียสน่าที่มีความเหมาะสมในการทำเครื่องประดับ โดยการทดลองฝังพลอยดำ(Black Sapphire)ตกเกรด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5, 2.0, 2.5 และ 3 มิลลิเมตร ด้วยเทคนิคแบบฝังจมจำนวน 3 เม็ดต่อชิ้น ที่ระยะห่างต่อเม็ด 3 ระยะ คือ 0, 0.7, 1.4 มิลลิเมตร ทำ 3 ซ้ำรวมทั้งสิ้น 36 ชิ้นงานต่อดินหนึ่งชนิด เผาที่อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส โดยใช้เกณฑ์การวิเคราะห์คุณภาพ 2 ประเด็น ประเด็นแรก คุณภาพของพลอยหลังเผา ได้แก่ สีของพลอย รอยแตก การเกาะติดกับเซรามิก ประเด็นที่ 2 คุณภาพเนื้อดินเซรามิก ได้แก่ สีของดิน รอยร้าวในดินหลังเผา โดยวิธีการถ่ายภาพด้วยกล้องกำลังขยายสูง และบรรยายลักษณะชิ้นงาน พบว่าพลอยดำตกเกรดสามารถใช้ฝังกับดินทั้งสองชนิดได้ โดยก่อนและหลังเผาสีของพลอยไม่เปลี่ยนและไม่แตกร้าวเพิ่ม ดินพอร์ชเลนเมื่อเผาแล้วเนื้อดินเป็นสีขาวอมน้ำตาล สามารถฝังพลอยได้ทุกขนาดแต่ที่ดีที่สุด คือ พลอยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 มิลลิเมตรทุกระยะห่างพลอยไม่เบียด ไม่หลุดและไม่เกิดรอยร้าวที่ดิน มีชิ้นงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 10 ชิ้นงาน และดินวิเทรียสไชน่าเมื่อเผาแล้วเนื้อดินเป็นสีขาวนวล มีชิ้นงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 16 ชิ้นงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. คอมพาวด์เคลย์. (ม.ป.ป.). PFA [เอกสารประชาสัมพันธ์]. สิงห์บุรี : คอมพาวด์เคลย์.
2. คอมพาวด์เคลย์. (ม.ป.ป.). VCB [เอกสารประชาสัมพันธ์]. สิงห์บุรี : คอมพาวด์เคลย์.
3. ธนกฤต ใจสุดา และภัทรา ศรีสุโข. (2559). การเพิ่มมูลค่าพลอยตกเกรดด้วยกระบวนการทางการออกแบบสำหรับเครื่องประดับ. รายงานการวิจัย. เอกสารวิจัยเสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย กรุงเทพมหานคร.
4. ธนกฤต ใจสุดา, ภัทรา ศรีสุโข และณภัค แสงจันทร์. (2562). เครื่องประดับเซรามิก : เอกลักษณ์ภูมิปัญญาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 23(มกราคม-มิถุนายน) : 64-73.
5. ปรีดา พิมพ์ขาวขำ. (2547). เซรามิกส์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. พรรณนุช ชัยปินชนะ. (2560). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของกลุ่มผลิตภัณฑ์เซรามิกจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 5(กันยายน - ธันวาคม) : 526-534.
7. สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). ผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับเร่งปรับตัวในยุคโลกป่วน ธุรกิจเปลี่ยน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://infocenter.git.or.th/article/article-2006. 2563.
8. สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). เพิ่มยอดขายในกลุ่ม Niche Market ด้วยเครื่องประดับแฮนด์เมด. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://infocenter.git.or.th/Content_View.aspx?id =2522. 2561.
9. สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). สถานการณ์การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม ปี 2561. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://infocenter.git. or.th /GemDB_BE/upload/ content/03122018.1641148_ExportAnalysis_Jan-Oct%2018.pdf. 2561.
10. สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยปรับตัวสู้วิกฤต เร่งเสริมแกร่งด้วยนวัตกรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.tpa.or.th/writer/read _this_book_topic.php?bookID =3210&read=true&count=true. 2558.