การพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (4C) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

Main Article Content

ธีรพงษ์ จันเปรียง
เจนวิทย์ วารีบ่อ
สมปอง มูลมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษา 2) เปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการเรียนรู้เชิงรุก และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 58 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบวัดและแบบสังเกตทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เชิงรุก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการทดสอบ t แบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า


  1. คะแนนเฉลี่ยของทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 50.00 หลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 70.26 ทักษะการสื่อสารก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 57.47 หลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 76.29 ทักษะการร่วมมือก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 47.32 หลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 79.69 และทักษะความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 44.83 หลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 77.83

  2. หลังจากเรียนด้วยการเรียนรู้เชิงรุกนักศึกษามีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เชิงรุกในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ. (2550). บทบาทของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมและวิธีการปฏิบัติตามแนวทางของ Active Learning. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.ite.org/. 25 ตุลาคม 2562
2. ดวงจันทร์ แก้วกงพาน. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ลำปาง : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
3. นนทลี พรธาดาวิทย์. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาการจัดการเรียนรู้. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
4. พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. วารินทร์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. ลพบุรี : วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี.
6. วิจารณ์ พานิช. (2555). สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.
7. สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2553). ขนาดผล: ความมีนัยสำคัญทางปฏิบัติในการวิจัย. วารสารภาษาปริทัศน์. 25(53) ; 26-38.
8. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). การนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
9. Bonwell, C. & James, A. (1991). Active Learning Creating Excitement in the Classroom. Washington : Eric Higber.
10. Felder, R. M. & Brent, R. (2009). Active Learning: An Introduction. (Online). Available : http://www4.ncsu.edu/unity/lockers/users/f/felder. 4 October 2020
11. Meyers, C. & Jones, T. (1993). Promoting Active Learning : Strategies for the College Classroom. San Francisco : Jossey-Bass.
12. Partnership for 21st Century Skills. (2019). Framework for 21st Century Learning. (Online). Available : http://www.battelleforkids.org/networks/p21. 24 October 2019.