การเปรียบเทียบความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร” สอนโดยใช้วิธีการสอนอ่าน แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) กับการสอนแบบปกติ

Main Article Content

อนุรักษ์ ดวงละม้าย
อรนุช ลิมตศิริ

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร” โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) กับการสอนแบบปกติ (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร” ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) และ (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร” ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการสอนแบบปกติ


            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร” ที่กำลัง
ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling)
จำนวน 2 ห้องเรียน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9


            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) จำนวน 4 แผน (2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 4 แผน และ (3) แบบทดสอบปรนัย
ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 และใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า t-test


            ผลการวิจัยสรุปได้ว่า


                        (1) นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA)
มีความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                        (2) นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA)
มีความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                        (3) นักเรียนได้รับการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบปกติ มีความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษ
เพื่อความเข้าใจ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ โคตรทอง. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากนิทานอาเซียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Storyline สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเป้า (สำราญไชยวิทยา) จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กลุ่มงานวัดผลทางการศึกษาโรงเรียนแกลง"วิทยสถาวร". (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564. ระยอง.

ไกรคุง อนัคฆกุล. (2558). การอ่านภาษาอังกฤษ: การสอนที่เน้นกลวิธีการอ่าน. สารนิพนธ์, ปัญญาภิวัฒน์.

จิรา ฟัน โอเย่น. (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาเพื่อความเข้าใจ ความเข้าใจคำศัพท์ และทักษะการคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) และแผนที่ความคิด. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณิชชา ชินธนามั่น, ชนิดาภา อิทธิยา และบัญชา สำรวยรื่น. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ "พิบูลสงครามวิจัย" ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2560 "Thailand 4.0 นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน วันที่ 23-24 มีนาคม 2560, (หน้า 296-300).

นราธิป เอกสินธุ์. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ โดยใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA). วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุณา กังแฮ. (2559). การพัฒนาความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษในการเรียนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษ

ทั่วไป โดยใช้วิธีการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

สุภาพร ตาตะ. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วยวิธีสอนแบบ

มุ่งประสบการณ์ภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมะเดือวิทยาคม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุมาลี เพชรคง. (2561). ผลการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ที่มีต่อ

ความเข้าใจในการอ่านและความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช.

โสภิตา พลวิจิตร. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์