ความต้องการของผู้สูงอายุในอำเภอเมืองเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุ 3 ด้าน ได้แก่ ความต้องการด้านร่างกาย ความต้องการด้านสังคม และความต้องการด้านเทคโนโลยี วิธีการศึกษา ได้แก่ การใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้สูงอายุ โดยเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างมาจากคนละครอบครัว ดำเนินการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 18 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ ประกอบด้วย การลดทอนข้อมูลและ การจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่เพื่อรายงานผล ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการด้านร่างกาย ได้แก่ ด้านการดูแลรักษาสุขภาพ ด้านการแพทย์ และด้านการทำงาน ความต้องการทางด้านสังคม ได้แก่ ความต้องการใช้เวลาอยู่กับครอบครัว และเพื่อน ความต้องการทำกิจกรรมทางศาสนา ทำกิจกรรมส่วนตัว และทำกิจกรรมกับชุมชน ความต้องการทางด้านเทคโนโลยี ได้แก่ ความต้องการใช้อุปกรณ์ทางเทคโนโลยี ความต้องการใช้เทคโนโลยี และความต้องการผู้ช่วยเหลือด้านการใช้เทคโนโลยี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2565 ) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.dop.go.th/th/laws/1/28/816. 2561.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. การดูแลผู้สูงอายุ. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.dop.go.th/th/know/15/741. 2564.
กรมสุขภาคจิต. ก้าวย่างของประเทศไทย สู่‘สังคมผู้สูงอายุ’อย่างสมบูรณ์แบบ. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476. 2563.
จารุวรรณ พิมพิค้อ และสมาน ลอยฟ้า. (2552). การใช้และความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารบรรณรักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มข. 27 (มกราคม-ธันวาคม): 79-88.
จิณณ์ณิชา พงษ์ดี และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2558). ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านเหมืองแบ่ง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 3 (กันยายน-ธันวาคม): 561-576.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อนาคตความสุขของผู้สูงวัย สังคมไทยพร้อมหรือยัง?. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.chula.ac.th/highlight/58857/. 2565.
ฉัตรศิริ วิภาวิน และนันทิยา เรือนกองเงิน. (2565). การศึกษาความต้องการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลขี้เหล็กและสลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 23 (มกราคม-เมษายน): 127-139.
ณัฏฐ์ฐิตตา เทวาเลิศสกุล, วณิฎา ศิริวรสกุล, และชัชสรัญ รอดยิ้ม. (2559). แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจากภาระให้เป็นพลัง กรณีศึกษาเทศบาลนครรังสิต. Veridian E-Journal. 9 (มกราคม-เมษายน): 529-545.
ไทยซีเนียร์มาร์เก็ต. ความสำคัญของผู้สูงอายุ. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaiseniormarket.com/article-detail/107. 2566.
ธุวธิดา สุวรรณรัตน์ และสมบูรณ์ สุขสำราญ. (2565). สภาวการณและความตองการของผู้สูงอายุในการแนวทางการจัดการของผู้สูงอายุของชุมชนบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8 (พฤษภาคม): 1-12.
ภาณุวัฒก์ ว่องตระกูลเรือง. ลูกหลานรู้จัก เข้าใจ ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุตามวัย. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/ลูกหลานรู้จัก-เข้าใจ-ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุตามวัย. 2566.
วีรณัฐ โรจนประภา. (2560). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีที่มีผลต่อระดับความสุขของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 13 (มกราคม-เมษายน): 89-104.
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. สภาพจิตใจของผู้สูงอายุ. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/07172014-1131. 2565.
สมชาติ ดีอุดม และจักเรศ เมตตะธารงค์. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุของความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเข้าถึงความรู้ของกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร.
(กันยายน-ธันวาคม): 70-82.
สมาน ลอยฟ้า. (2554). ผู้สูงอายุกับเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 29 (พฤษภาคม-สิงหาคม): 53-64.
สำนักงาน ก.พ. (2561). ภาครัฐกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย. วารสารข้าราชการ. 60 (ตุลาคม): 1-23.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaihealth.or.th/การเปลี่ยนแปลงในผู้สูง-2/. 2561.
หอมหวล บัวระภา. (2565). ความต้องการของผู้สูงอายุและความพร้อมของสถาบันที่ให้บริการผู้สูงอายุ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7 (มิถุนายน): 84-97.
อุทุมพร ศตะกูรมะ และผ่องลักษม์ จิตต์การุญ. (2556). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 7 (มกราคม-มิถุนายน): 129-138.
เอลเดอร์แคร์. ผู้สูงอายุต้องการอะไร. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://eldercarenow.net/ผู้สูงอายุต้องการอะไร/. 2566.
Gjevjon, G.R., Oderud, T., Wensaas, G.H., & Moen, A. (2014). Toward a typology of technology users: how old people experience technology’s potential for active aging. Studies in health technology and informatics. 201: 25-31.
Gomm, R. (2008). Social Research Methodology: A Critical Introduction. New York: Palgrave Macmillan.
Myers, H., & Lumbers, M. (2008). Understanding older shoppers: a phenomenological investigation. Journal of Consumer Marketing. 25 (August): 294-301.
Saunders, M., Lewis, P., & Thornhill, A. (2012). Research Methods for Business Students. Harlow: Pearson Education Ltd.