แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของชุมชนการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อการเป็นประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

สิตางศ์ เจริญวงศ์
วงธรรม สรณะ
ชูวงศ์ อุบาลี

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของชุมชน สุขภาวะของชุมชน และเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของชุมชนการค้าชายแดนในบริบทของตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี พบว่า คุณภาพชีวิตของของชุมชนการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาในมิติด้านเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ระหว่างประเทศ กลไกราคาตลาด และสถานการณ์ระหว่างพรมแดน คุณภาพชีวิตด้านสังคม พบว่า ประชาชนอยู่ร่วมกันในลักษณะของเครือญาติที่ทุกคนรู้จักหมดในหมู่บ้าน ชาวบ้านในชุมชนได้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่สำคัญ และหลังเปิดประตูการค้าชายแดนทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของคนต่างถิ่นได้แก่ แรงงานกัมพูชา นายทุนต่างพื้นที่ กลุ่มนักแสวงโชคและคุณภาพชีวิตของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า มีความจำเป็นเรื่องแหล่งน้ำในการเพาะปลูกทางการเกษตร การเกิดขึ้นของตลาดการค้าชายแดนมีผลต่อชุมชนเรื่องปัญหาการจราจร และปัญหาขยะในพื้นที่ สุขภาวะของชุมชนมี 4 ด้านได้แก่ สุขภาวะทางด้านร่างกาย พบว่าประชาชนในตำบลคลองใหญ่เป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีจำนวนของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นชุมชนที่ทำเกษตรกรรม เป็นชุมชนที่มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิตใจ มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางสังคม และมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางด้านจิตวิญญาณ แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของชุมชนการค้าชายแดน ได้แก่ การทบทวนความเป็นอยู่ของชุมชนในการดำเนินชีวิต เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจและสังคม การสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีควรมีการวางแผนการมีส่วนร่วมและการบูรณาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี เพื่อลดปัญหามลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม อันจะก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีและสุขภาพที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา บุญชัย. (2563). การประเมินความเสียหาย ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่น ต่อภาวะโรคระบาด COVID 19. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.

จิราภรณ์ ทองเอก, 2563 มีนาคม 16. ประชาชนในท้องที่. สัมภาษณ์.

ชยันต์ วรรธนะภูติ. (2537). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ” ใน คู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการ พัฒนา. อุทัย ดุลยเกษม (บก.) ขอนแก่น : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, และ สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชาย โพสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง ฯ.

ชิตพล ชัยมะดัน. (2558). นโยบายการค้าชายแดนไทย-กัมพูชากับการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษาจังหวัดสระแก้ว.ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิรัศม์ชญา พิพัฒน์เพ็ญ และคณะ. (2553). กระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาพเพื่อสรรค์สร้างความเข้มแข็งแห่งสุขภาวะของชุมชน: กรณีตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม 1, 2564 ธันวาคม 20. ผู้นำท้องถิ่น. สัมภาษณ์.

ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม 2, 2565 มีนาคม 20. ประชาชาในตำบลคลองใหญ่. สัมภาษณ์.

ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม 3, 2565 กุมภาพันธ์ 9. ผู้นำท้องถิ่น. สัมภาษณ์

ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม 5, 2565, 15 พฤษภาคม. พนักงานสาธารณสุข. สัมภาษณ์.

ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม 8, 2565 15 ตุลาคม. ประชาชนในตำบลคลองใหญ่. สัมภาษณ์.

ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม 9, 2565 15 ตุลาคม. แพทย์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. สัมภาษณ์.

มุกดา สีตลานุชิต. (2557). สุขภาวะทางจิตวิญญาณมีความสำคัญกับเราอย่างไร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทริ์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 8 (พฤษภาคม-สิงหาคม) : 58-62 .

วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์. (2560). การพัฒนาพื้นที่ชายแดน เพื่อการค้าการลงทุนและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. 27(กรกฎาคม-ธันวาคม) : 1-13.