การพัฒนาชุดกิจกรรม CS unplugged ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรม CS unplugged ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรม CS unplugged ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรม CS unplugged ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเอง จังหวัดระยอง จํานวน 31 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดกิจกรรม CS unplugged ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม CS unplugged ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีค่าเท่ากับ 80.32/83.01 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม CS unplugged ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม CS unplugged ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) . กรุงเทพมหานคร.
ชฎารัตน์ พิพัฒนนันท์. (2563). CS Unplugged เรียน Coding โดยไม่ใช้ คอมพิวเตอร์. [online]. Available: https://www.starfishlabz.com/blog/80-cs-unplugged. (10 เมษายน 2564).
ทิศนา แขมมณี. (กันยายน 2553). “การพัฒนากระบวนการคิด,” วารสารการศึกษากรุงเทพมหานคร. 1(2) : 2 - 5.
นนทกร อรุณพฤกษากุล, อัจฉริยา รังษิรุจิสมเกียรติพรพิสุทธิมาศ และสุฑามาศ นิยมพานิช. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21. กาฬสินธุ์ : มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
พิมพ์ใจ เกตุการณ์, สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์ และสมศิริ สิงห์ลพ. (มกราคม – มีนาคม 2558). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ความสามารถในการแก้ปัญหาและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(1) : 77 – 89.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
สุวิมล นิลพันธ์ และธิติยา บงกชเพชร. (พฤษภาคม – สิงหาคม 2564). “การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5,” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 15(2) : 208 – 223.
Abdullaha, N., Tarmizia,R, Abub, S. (2010). “The Effects of Problem Based Learning on Mathematics Performance and Affective Attributes in Learning Statistics at Form Four Secondary Level” Procedia Social and Behavioral Sciences.8(2) : 370-376
Akınoglu, R. and Tandogan. R. (2007). “The Effects of Problem-Based Active Learning in Science Education on Students’ Academic Achievement, Attitude and Concept Learning” Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education. 3(1) : 71-81
Demir.U. (January 2021). “The Effect of Unplugged Coding Education for Special Education Students on Problem-Solving Skills” International Journal of Computer Science Education in Schools. 4(3) : 1-24
Kadir, Z. and et al. (2016). Does Problem-Based Learning Improve Problem Solving Skills?—AStudy among Business Undergraduates at Malaysian Premier Technical University. International Education Studies. 9(5) : 166-172.
Lee, J & Junho, J (August 2019). “Implementing Unplugged Coding Activities in Early Childhood Classrooms” Early Childhood Education Journal. 1 - 8