การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน : ภาพปะติดจากเสื่อกก ชุมชนท่าแฉลบ ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน : ภาพปะติดจากเสื่อกก ชุมชนท่าแฉลบ ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยที่มุ่งเสาะแสวงหาความรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ด้านทัศนศิลป์ให้เป็นประโยชน์ ในการออกแบบสินค้าชุมชนประเภทภาพปะติดจากเศษเสื่อกกให้กับชุมชนท่าแฉลบ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทดลองใช้เสื่อกกสร้างสรรค์ภาพปะติด 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานภาพปะติดประดับผนังด้วยเสื่อกกให้กับชุมชนท่าแฉลบ โดยเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประธานศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเสื่อบ้านท่าแฉลบ ช่างผู้ผลิต ภาพประดับตกแต่งผนังด้วยเสื่อกก สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเสื่อบ้านท่าแฉลบ จำนวน 3 คน ตัวแทนชุมชน อาจารย์ผู้สอน ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ จำนวน 2 คน นักออกแบบของที่ระลึก จำนวน 2 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการถอดบทเรียน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การทดลองใช้เสื่อกกสร้างสรรค์ภาพปะติดสำหรับประดับตกแต่งผนังเป็นการนำองค์ความรู้ ด้านศิลปะในการนำเศษเสื่อกกที่เหลือจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์แล้วมาสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคการปะติด ซึ่งจากการทดลองได้ผลงานภาพติดด้วยเศษเสื่อกกซึ่งมีความแปลกใหม่ มีพื้นผิวที่น่าสนใจ สีสันสดใส 2) การสร้างสรรค์ผลงานภาพปะติด ประดับผนังด้วยเสื่อกกให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเสื่อบ้านท่าแฉลบ โดยได้แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน จากการลงพื้นที่ชุมชน การสำรวจ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การถอดบทเรียน นำมาสู่กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบฯ จำนวน 10 ชิ้น ได้รับการประเมินผลการออกแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการคืนข้อมูลสู่ชุมชน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับรูปแบบสินค้าของชุมชนด้วยอัตลักษณ์ของตนเองหรือสร้างความแตกต่างในสินค้าประเภทเดียวกัน จากชุมชนอื่นได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธนภณ นิธิเชาวกุล และเชาว์ โรจนแสง. (2556).โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์
เวชสำอางสมุนไพรไทย กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 21 ฉบับที่ 37 (กันยายน – ธันวาคม 2556), หน้า 211-238.
พรรณนุช ชัยปินชนะ, ผศ. และคณะ. (2553). โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากเส้นใยกล้วยสู่วิสาหกิจชุมชนจังหวัดจันทบุรี. รายงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย, ปี 2553, หน้า ค.
พระครูสุจิตกิตติวัฒน์, ดร. (กิตติ สร้อยมาลา). (2563). ศึกษานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเสื่อบ้านท่าแฉลบจังหวัดจันทบุรี. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในจังหวัดนครปฐม. Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน 2560
วงศ์ธีรา สุวรรณิน. (2563). แนวทางการเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนบนรากฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชนต้นแบบในจังหวัดหนองคาย. วารสาร BU Academic Review, 19(1), 109 - 127.
ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ. (2555). พจนานุกรมศัพท์การวิจัยและสถิติ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 109.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. (2561). เสื่อกกจันทบูร. [online]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.m-culture.go.th/chanthaburi/ewt_news.php?nid=935&filename=index. (18 พฤศจิกายน 2564).
หนึ่งฤทัย ไชยเดช. (2554). การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เยาวชน ด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อม
ศึกษาของกลุ่มสตรีผู้นําชุมชนกรณีศึกษา หมู่บ้านหัวทุ่ง ตําบลเชียงดาว อําเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่.
การค้นคว้าแบบอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Chematony, L., & Harris, F. (1998). Add value: Its nature, role and sustainability. European Journal of
Marketing, 34(1/2), 39-56.