การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะเรื่องภาษาเขมรเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6

Main Article Content

สุภานี แคะมะดัน
สวัสดิ์ชัย ศรีพนมธนากร
ฬิฏา สมบูรณ์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์สมรรถนะด้านภาษาเขมรเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น 2) สร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของหลักสูตรฐานสมรรถนะ และ 3) ทดลองใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะเรื่องภาษาเขมรเพื่อการสื่อสารเบื้องต้นสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน และนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนปะตงวิทยา จังหวัดจันทบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลจากเอกสารหลักสูตร  2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของหลักสูตร 4) แบบประเมินสมรรถนะด้านภาษาเขมรเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบทวินาม


ผลการวิจัยพบว่า


           1) สมรรถนะด้านภาษาเขมรเพื่อการสื่อสารเบื้องต้นสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 มุ่งเน้นความรู้เกี่ยวกับพยัญชนะ สระ คำศัพท์เบื้องต้น มุ่งเน้นทักษะท่องจำคำศัพท์ ฝึกพูด ฝึกเขียนเบื้องต้น ด้วยความสนุกสนานเน้นนำคำศัพท์ไปประยุกต์เรียบเรียงเป็นประโยค เปิดโอกาสให้ได้ปฏิบัติระหว่างเรียน ได้ฝึกพูดประโยค ฝึกพูดสนทนา  ในชีวิตประจำวัน ฝึกปฏิบัติเขียนคำง่าย ๆ ในสถานการณ์สมมติต่าง ๆ ประเมินผลสำเร็จจากการบอกความหมายของศัพท์ เขียนพยัญชนะสระได้ บอกในสิ่งที่ตนเองชอบ พูดคำศัพท์เบื้องต้นที่อยู่ใกล้ตัวและพูดประโยคง่าย ๆ ได้


           2) หลักสูตรฐานสมรรถนะด้านภาษาเขมรเพื่อการสื่อสารเบื้องต้นสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6  ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ (1) รายละเอียดภาพรวมของหลักสูตร (2) แนวทางการนำหลักสูตรไปใช้ (3) สมรรถนะหลัก จำนวน 1 สมรรถนะ และสมรรถนะเฉพาะ จำนวน 2 สมรรถนะ (4) หน่วยการเรียนรู้ จำนวน 2 หน่วย และเวลาเรียน 20 ชั่วโมง (5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เน้นการปฏิบัติ (6) สื่อการเรียนรู้ (7) การวัดและการประเมินผล เน้นการประเมินสมรรถนะ (8) แผนการจัดการเรียนรู้ระดับหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 2 แผน (9) แผนการจัดการเรียนรู้ระดับรายชั่วโมง จำนวน 10 แผน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด


           3)  นักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยของสมรรถนะภาษาเขมร  เพื่อการสื่อสาร หลังเรียนสูงกว่าคะแนนเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำนวนของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 80 ขึ้นไป มีผลการประเมินสมรรถนะภาษาเขมรเพื่อการสื่อสาร อยู่ในระดับผ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2558). คู่มือโอกาสและทิศทางการค้าการลงทุนในกัมพูชา. นนทบุรี : กรมส่งเสริมฯ.

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อสีนเพรส.

ชินีนาถ สุขจันทร์. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะสาขาอาชีพช่างฉีดขึ้นรูปพลาสติก. วิทยานิพนธ์ ค.อ.ม. กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ. (2563). หลักสูตรฐานสมรรถนะ. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thairath.co.th/news/local /1956206. 31 กรกฎาคม 2563.

ทิศนา แขมมณี. (2563). หลักสูตรฐานสมรรถนะ. [online]. เข้าถึงได้จาก: https://sornorpoom.wordpress.com/ 2020/07/12. 16 กรกฎาคม 2563.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตสถาน.

มลวิกา ภูลสนอง และคณะ. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะระดับปริญญาตรีช่างตัดเย็บเสื้อผ้า. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วัลลภ พัฒนพงศ์. (2555). การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมนักพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะอาชีพ. วิทยานิพนธ์ คอ.ด. (วิจัยและพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ศักดิ์สิทธิ์ สีหลวงเพชร. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง สำหรับครูวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 10 ฉบับที่ 4.

สุจิตรา ปทุมลังการ์. (2552). ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะและการประเมินผล. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐาน การอาชีวศึกษาและวิชาชีพ กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. นนทบุรี : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับประชาชน และเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา. นนทบุรี : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สำนักงานแรงงานจังหวัดจันทบุรี. (2563). สถานการณ์แรงงานจังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี : สำนักงานฯ.

โส สุเพีย. (2557). การพัฒนาหลักสูตรภาษาเขมรเบื้องต้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (สาขาหลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุบล เทศทอง. (2558). ภาษาเขมรเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.